The Conjuring: The Devil Made Me Do It

เดอะคอนเจอริ่ง คนเรียกผี 3 มัจจุราชบงการ

The Conjuring: The Devil Made Me Do It

แนว Horror, Mystery, Thriller

เข้าฉาย 3 มิถุนายน 2564

ผู้กำกับ Michael Chaves

นักแสดง Patrick Wilson, Vera Farmiga, Ruairi O’Connor

เรื่องย่อ

เรื่องราวของความหวาดกลัว เหตุฆาตกรรม และปีศาจที่ไม่มีใครรู้จัก ขนาดคนเรียกผีตัวจริงเสียงจริงอย่าง เอ๊ด และ ลอร์เรน วอร์เรน ยังตกตะลึง อ้างอิงจากหนึ่งในแฟ้มคดีที่สะเทือนขวัญที่สุดของพวกเขา เริ่มต้นจากการต้องต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณของ ชายหนุ่ม ก่อนจะได้ไปพบกับสิ่งที่เหนือกว่าที่พวกเขาเคยเจอมา และกลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่ฆาตกรอ้างเหตุผลการฆาตกรรมของเขาว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือ ปีศาจมัจจุราช

“ศาลยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าทุกครั้งที่พยานกล่าวคำสาบานว่าจะพูดความจริง ผมว่าถึงเวลาที่ศาลต้องยอมรับว่าปีศาจมีจริงได้แล้ว” – เอ็ด วอร์เร็น

TheConjuring

ภาพยนตร์เรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” เป็นเรื่องราวชวนหลอนเกี่ยวกับความหวาดผวา ฆาตกร และปีศาจลึกลับที่ทำให้เอ็ดและลอร์เรน วอร์เรน ผู้สืบสวนเรื่องราวเหนือธรรมชาติในชีวิตจริงต้องช็อค หนึ่งในคดีสะเทือนขวัญจากแฟ้มคดีของพวกเขาที่เริ่มจากการต่อสู้เพื่อวิญญาณเด็กผู้ชายรายหนึ่ง พวกเขาต้องพบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จนมีการบันทึกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกว่าผู้ต้องสงสัยว่าเป็นฆาตกรโดยอ้างว่าทำไปเพราะผีสิง

วีร่า ฟาร์ไมก้า และ แพทริค วิลสัน กลับมารับบทลอร์เรนและเอ็ด วอร์เร็น ภายใต้การกำกับฯ ของไมเคิล ชาเวส  (“The Curse of La Llorona”) ภาพยนตร์ยังรวมนักแสดง รูอิรี่ โอ’คอนนอร์ (ผลงานทาง Starz “The Spanish Princess”), ซาร่าห์ แคทเธอรีน ฮุค (ผลงานทาง Hulu “Monsterland”) และจูเลียน ฮิลเลียร์ด (ซีรีส์ “Penny Dreadful: city of Angels” และ “The Haunting of Hill House”) 

ภาพยนตร์เรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” อำนวยการสร้างฯ โดยเจมส์ วาน และ ปีเตอร์ ซาฟราน ผู้ร่วมงานในจักรวาลภาพยนตร์ “Conjuring” ทุกตอน ชาเวสกำกับฯ จากบทภาพยนตร์ของเดวิด เลสลี่ จอห์นสัน-แม็คโกลดริค (“The Conjuring 2,” “Aquaman”) เนื้อเรื่องโดยเจมส์ วาน และ เดวิด เลสลี่ จอห์นสัน-แม็คโกลดริค สร้างอิงจากตัวละครที่แต่งขึ้นโดยแชด เฮย์ส และ แครีย์ ดับบลิว. เฮย์ส อำนวยการสร้างบริหารฯ โดยริชาร์ด บรีเนอร์, เดฟ นิวสแตดเตอร์, วิคตอเรีย พัลเมอรี่, ไมเคิล เคลียร์, จัดสัน สก็อตต์ และ มิเชล มอร์ริสซีย์

ทีมงานเบื้องหลังฝ่ายสร้างสรรค์จากจักรวาล “Conjuring” กลับมาร่วมงานในเรื่องนี้ อาทิเช่น ผู้กำกับภาพ ไมเคิล เบอร์เกส, ผู้ออกแบบฉาก เจนนิเฟอร์ สเปนซ์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ลีอาห์ บัตเลอร์ และผู้ประพันธ์ดนตรี โจเซฟ บิชาร่า ร่วมด้วยผู้ลำดับภาพจาก “The Curse of La Llorona” ปีเตอร์ กอซดาส ผู้ลำดับภาพ คริสเตียน แว็กเนอร์  (“Furious 7”)

ภาพยนตร์เรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” เป็นผลงานเรื่องที่ 7 ในจักรวาล “Conjuring” ภาพยนตร์แฟรนไชส์สยองขวัญที่มีความยาวนานมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กวาดรายได้ทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 1.8 พันล้านเหรียญ รวมถึงภาพยนตร์เรื่อง “Conjuring” สองภาคแรกและ “Annabelle” และ “Annabelle: Creation,” “The Nun” และ “Annabelle Comes Home” 

นิวไลน์ ซีเนม่า นำเสนอภาพยนตร์จาก An Atomic Monster/Peter Safran Production เรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ภาพยนตร์เริ่มเปิดตัววันที่ 4 มิถุนายน 2021 และรับชมได้ทาง HBO Max ในระบบ UHD, HDR10, Dolby Vision และ Dolby Atmos ตามอุปกรณ์ที่รองรับ 31 วันนับจากวันฉายในโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ได้รับเรท R จากฉากความน่ากลัว ความรุนแรง และภาพที่ไม่น่าชม

รายละเอียดการถ่ายทำ

ประทานพร และ ล้างบาป

TheConjuring

“โรงถ่ายคือสถานที่สำหรับสร้างโลกต่างๆ ขึ้นมา จักรวาลไม่อาจรับรู้ความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่งขึ้นมาได้” – บาทหลวงไบรอัน ดี. โอลเล็ตต์, ผู้นำการทำพิธีไล่ผีตามคำสั่งของผู้ทำพิธีไล่ผีในเขตแอตแลนต้า

“ด้วยอำนาจของพระจิต เรามาชุมนุมกันในนามของพระองค์ มอบทางสว่างให้จิตใจ  มอบแสงสว่างและพลังให้แก่เรา คอยประคองเราด้วยพลังของท่าน” ประโยคเหล่านั้นมาจากบาทหลวงไบรอัน ดี. โอลเล็ตต์ แห่ง Holy Nicholean Catholic Church ในแอตแลนต้า เปิดฉากภาพยนตร์เรื่องใหม่ในจักรวาลของ “Conjuring” อย่างเป็นทางการ

            กลายเป็นประเพณีและเรื่องเล่าขานต่อกันมาในภาพยนตร์ “Conjuring” และเรื่องราวภาคอื่นที่จะได้รับการประทานพรก่อนเริ่มการถ่ายทำ ซึ่งจะมีการเชิญนักแสดงและทีมงานทั้งหมดมาร่วมในพิธี สิ่งสำคัญคือการสร้างความอุ่นใจ ละเว้นศรัทธาส่วนตัว โดยทั้งหมดล้วนเป็นการช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกสำหรับการถ่ายทำที่เหลือ

“สำหรับผู้ที่เกิดข้อสงสัยใด” ไมเคิล ชาเวส ผู้กำกับฯ กล่าวว่า “มันช่วยทำให้พวกเขาผ่อนคลายขึ้น”

            “ทิ้งความเชื่อเรื่องการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว มันช่วยทำให้ทุกคนสงบได้จริงๆ” ปีเตอร์ ซาฟราน ผู้อำนวยการสร้างฯ กล่าว

            โอลเล็ตต์เล่าว่านักแสดงต่างรู้สึกไม่มั่นใจจากความลึกลับที่เป็นต้นแบบในภาพยนตร์สยองขวัญที่ดูเป็นรูปเป็นร่าง เพื่อให้การแสดงของพวกเขามีความชัดเจนมากพอ นักแสดงต้องรวมพลังให้เป็นหนึ่งกับต้นฉบับ โดยหวังว่าพิธีประทานพรจะช่วยสกัดพลังความชั่วร้ายทั้งหลายได้

            “มันเป็นการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้ในที่ทำงานของเรา สถานที่แห่งนั้นถือได้ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์แล้”” วีร่า ฟาร์ไมก้า ผู้รับบทลอร์เร็น วอร์เร็น ในจักรวาล “Conjuring” ตลอด 8 ปีที่ผ่านมากล่าว “มันเป็นเรื่องสำคัญละเป็นการเริ่มถ่ายทำได้อย่างงดงามค่ะ”

เรื่องราวและการประพันธ์ใหม่

เป็นเรื่องยากสำหรับผมที่จะก้าวออกมาจากการกำกับฯ ผมเป็นผู้ควบคุมโลกใบนี้ตั้งแต่แรกเริ่มเจมส์ วาน

TheConjuring

            ชื่อของ เจมส์ วาน มีความหมายสื่อตรงกับ “เดอะ คอนจูริ่ง” วานคือพลังความสร้างสรรค์ที่อยู่เบื้องหลังทั้งจักรวาล ทั้งพัฒนาเรื่องราว ควบคุมเรื่องราวที่สร้างแยกออกมา และกำกับหัวใจสำคัญของภาพยนตร์ “Conjuring” มาถึงปัจจุบัน แม้ว่าวีร่า ฟาร์ไมก้าและแพทริค วิลสัน ที่มารับบทลอร์เรนและเอ็ด วอร์เร็น ผู้มีญาณทิพย์และเป็นนักปราบผีตัวจริงเคยผ่านการกำกับฯ โดยแกรี่ ดาวเบอร์แมนมาแล้วในเรื่อง “Annabelle Comes Home” แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ครอบครัววอร์เร็นไม่มีวานเป็นผู้ควบคุม

            วานเกือบไม่ได้กำกับฯ “The Conjuring 2” แต่ด้วยคำชวนจากฟาร์ไมก้าและวิลสันให้กลับมาร่วมงานด้วยกัน ระหว่างถ่ายทำเขามีการบอกใบ้ว่าอาจจะไม่กำกับฯ ภาคที่ 3 แต่นักแสดงคิดว่าพวกเขาน่าจะโน้มน้าวได้อีกรอบ

            “ตอนได้ยินมาว่าเขาจะไม่กำกับฯ ภาคนี้” ฟาร์ไมก้าเล่าว่า “ฉันคิดเลยว่า ‘ฉันจะตื๊อเขาอีกรอบ และมั่นใจว่าจะต้องได้ผล”

            จากสัญลักษณ์บริษัท Atomic Monster ของเขา วานได้เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้กำกับฯ คนอื่นในช่วงแรกของการสร้างภาพยนตร์ รวมถึงตากล้องที่ร่วมงานกันมาอย่างยาวนาน จอห์น ลีโอเน็ตติ (“Annabelle”), เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก (“Lights Out,” และผลงานภาคต่อ “Annabelle: Creation”), โคริน ฮาร์ดี้ (“The Nun”), แกรี่ ดาวเบอร์แมน (“Annabelle Comes Home”) และไมเคิล ชาเวส (“The Curse of La Llorona”) ซึ่งเข้าใจได้ว่าจะต้องมีคนที่มีความสามารถสักคนที่วานจะช่วยควบคุมหัวใจสำคัญของแฟรนไชส์เอาไว้ได้

ฉันรู้ว่า [เจมส์ วาน] จะต้องมีการปรับเปลี่ยนและประดิษฐ์เรื่องราวออกมา เขาใส่ความเป็นตัวเองลงไปในหนังทุกเรื่อง สิ่งสำคัญที่สุดสสำหรับฉันคือการที่เจมส์ได้พบกับคนที่มีจินตนาการเข้ากัน คนที่ต้องการกำกับฯ เรื่องนี้มากที่สุดในโลก”

– วีร่า ฟาร์ไมก้า

“ผมเพิ่งร่วมงานกับไมเคิล ชาเวส” วานกล่าว “และผมชอบเขามากเลย ความสร้างสรรค์และแนวคิดของเขาคือสิ่งที่ ‘The Conjuring: The Devil Made Me Do It’ ต้องการ”

“ชาเวสเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและมีไหวพริบ” ซาฟรานเห็นด้วย “เขาเข้าใจความสยองเป็นอย่างดี ไม่มีใครอีกแล้วในหน้าที่นี้นอกจากชาเวส”

            เมื่อชาเวสถูกเรียกตัวให้มาร่วมงานใน “Conjuring” ภาค 3 เขารู้สึกคาดไม่ถึง แต่ก็พร้อมจะกระโดดไปร่วมงานเต็มที่

            “มันเหมือนฝันที่เป็นจริง” ชาเวสยอมรับด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น “ผมเป็นแฟนตัวยงของหนังเรื่อง ‘Conjuring’ เจมส์คือปรมาจารย์หนังสยองขวัญรุ่นใหม่ ฉะนั้นการได้มาควบคุมโลกที่เขาสร้างขึ้นมามันรู้สึกทั้งตื่นเต้นและหวาดกลัว มันมีภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่ต่อเจมส์ แต่ต่อแฟนๆ แฟรนไชส์ และตัวละครที่เขาสร้างขึ้นมาด้วย ผมจะทำพลาดไม่ได้เลย”

            “ชาเวสก็สิ่งที่เสริมเข้ามาได้อย่างดีเยี่ยม” แพทริค วิลสันกล่าว “เพราะเขารักหนังพวกนี้ และเขาเคารพในตัวเจมส์มาก แถมเขายังมีความกล้าหาญ ไม่กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่และเปิดรับไอเดียใหม่ๆ เขาเคารพในแฟรนไชส์เรื่องนี้ แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะผลักดันมันไปข้างหน้าด้วย”

            ชาเวสยืนยันว่าเหตุผลหนึ่งที่วานเลือกให้เขามากำกับฯ ผลงานล่าสุดของ “Conjuring” เพราะการแชร์ความรักที่มีต่อผลงานฆาตกรรมระทึกขวัญสุดคลาสสิคของเดวิด ฟินเชอร์ร่วมกันในเรื่อง “Se7en” ชาเวสและวานคุยเกี่ยวกับหนังเรื่องนั้นในฉากของเรื่อง “La Llorona” และมันช่วยให้เกิดการพัฒนาสู่เรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It”

            “มันคือสิ่งที่น่าหลงใหลมากสำหรับผม” ชาเวสเปิดเผย “ที่ผมได้สร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมา” ย้อนกลับไปตอนถ่ายทำเรื่อง “The Conjuring 2” ที่มีการคุยกันถึงคดีต่อไปที่เอ็ดและลอร์เร็นจะแก้ปริศนาบนหน้าจอ วานรู้ว่าเขาไม่อยากให้ตอนต่อไปเหมือนหนังบ้านผีสิง ที่มีซูเปอร์ฮีโร่เรื่องเหนือธรรมชาติอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยมแบบเดิม และเล่าเรื่องราวที่เคยกล่าวกันมาแล้วในหนัง 2 ภาคแรก

“ผมจำได้ว่าคุยกับแพทริคและวีร่าเอาไว้ในฉากของเรื่อง ‘Conjuring 2’” วานอธิบาย “ผมอยากสำรวจโลกที่เอ็ดและลอร์เร็นได้ช่วยตำรวจไขคดีอาชญากรรม ผมอยากให้ภาคที่ 3 มีความรู้สึกที่ต่างไป”

TheConjuring

เพื่อทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จขึ้นมาได้ วาน ซาฟราน และผู้เขียนบทฯ เดวิด เลสลี่ จอห์นสัน-แม็คโกลดริคได้หันไปหาคดีหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของวอร์เร็น เมื่อดูจากหัวเรื่องแล้วคดี “The Devil Made Me Do It” เกี่ยวกับฆาตกรสหรัฐฯ รายแรกที่การอ้างว่าถูกผีสิงเป็นที่ยอมรับในทางกฎหมาย ทีมงาน “Conjuring” รู้สึกว่านี่เป็นโอกาสอันเหมาะสำหรับเอ็ดและลอร์เร็นในการใช้ความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่ เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยผู้บริสุทธิ์จากการถูกกล่าวหาและพลังของปีศาจ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นคดีที่ช็อคและหลอนมากที่สุดสำหรับครอบครัววอร์เร็น

            “สำหรับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง” ชาเวสกล่าว “นี่เป็นเรื่องราวที่มีความลึกลับที่สุดสำหรับครอบครัววอร์เร็น พวกเขาเตรียมการทุกอย่างเพื่อช่วยผู้ต้องหา อาร์นี่ จอห์นสัน”

ในเรื่อง “The Devil Made Me Do It” ยังมีแพลทฟอร์มที่ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ถ่ายทอดเรื่องของเอ็ดและลอร์เร็นออกมาสู่โลกได้อย่างกว้างขวาง ถือเป็นโอกาสอันดีมากที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการสืบสวนเรื่องสิ่งชั่วร้ายที่นำไปสู่เหตุอาชญากรรมชวนขนลุก

            “ในเรื่อง ‘The Conjuring’ การสื่อสารของปีศาจจะถูกจำกัดอยู่ภายในห้อง 4 เหลี่ยม” ฟาร์ไมก้าอธิบาย “ในเรื่อง ‘The Conjuring 2’ เรามีตั๋วเครื่องบินให้เอ็ดและลอร์เร็น เราส่งพวกเขาข้ามประเทศ แต่ภารกิจก็ยังอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยมของบ้าน ส่วนตอนนี้ ‘The Conjuring: The Devil Made Me Do It’ พวกเขาออกจากขีดจำกัดของบ้านผีสิง สู่สถานที่อันโหดร้ายและน่ากลัวที่สุด” สิ่งที่ทำให้ ‘Conjuring’ แตกต่างและมีความน่าตื่นเต้น’ ชาเวสกล่าว “คือเรามีความหลอนที่น่ากลัวทุกอย่างแบบที่เราหวังจากหนังเรื่อง ‘Conjuring’ แต่มันดูขัดกับเรื่องราวลึกับที่เกี่ยวข้องในจักรวาล ‘Conjuring’ ทั้งหมด

ส่วนประกอบของความจริง

“ความจริงไม่ได้มี 3 องก์และบทสรุปที่ชวนสยอง เราต้องสร้างมันขึ้นมา – เดวิด เลสลี่ จอห์นสัน-แม็คโกลดริค

ในเรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” 2 ได้พบกับอุปสรรคสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ จะรักษาความเป็นต้นฉบับและความปแลกใหม่ของจักรวาล “Conjuring” ไว้ได้อย่างไร และจะทำให้เรื่องจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นมาสมดุลกันได้อย่างไร

            “เราอยากเก็บรายละเอียดต่างๆ จากหนังเรื่องก่อนที่ทุกคนรักเอาไว้” เดวิด เลสลี่ จอห์นสัน-แม็คโกลดริค ผู้เขียนบทฯ และสร้างเนื้อเรื่องร่วมกับวานกล่าว “แต่เราก็ไม่อยากให้มันดูซ้ำซากจำเจอีกแล้ว”

TheConjuring

วานรู้ก่อนจะเริ่มถ่ายทำว่าเขาต้องการให้ “Conjuring” ภาคใหม่มีความลึกลับจากการมีญาณทิพย์ของลอร์เร็นเป็นหลัก จากแรงบันดาลใจในภาพยนตร์ของจอห์น คาร์เพนเตอร์ เรื่อง “Eyes of Laura Mars” และเดวิด โครเนนเบิร์ก เรื่อง “The Dead Zone” พวกเขาตามหาคดีที่ลอร์เร็นจะแสดงความเป็นนักสืบเรื่องวิญญาณ โดยที่พรสวรรค์ของเธอจะปรากฎในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มีการใช้ญาณทิพย์เป็นตัววางแผนแทนการใช้ความหวาดกลัว

            เป็นความจริงที่รู้กันว่าลอร์เร็น วอร์เร็นตัวจริงได้ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาหลายคดีแล้ว วานและจอห์นสัน แม็คโกลดริคได้พิจารณาถึงคดีเหล่านั้น แต่ไม่สามารถดัดแปลงให้เป็นอย่างที่ต้องการได้

            สิ่งที่เกิดขึ้นกับอาร์นี่ จอห์นสันหลังจากที่เดวิด แกลตเซลทำการไล่ผีครั้งสุดท้ายกลับทำให้เกิดเรื่องราวใหม่ขึ้นมา รายละเอียดจากคดีเพียงน้อยนิดทำให้แกลตเซลส์รู้สึกว่าต้องมีใครตั้งใจสาปพวกเขา ไม่มีใครเกิดความระแวงสงสัยได้ลึกซึ้งขนาดนั้นแน่ และดูเหมือนจะลงล็อคกับคดีที่เริ่มมีการตรวจสอบค้นหาความจริงกัน แต่สิ่งที่แกลตเซลสงสัยกลับไม่เคยได้รับการพิจารณา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง “Conjuring” จะมีใบเบิกทางให้เข้าถึงเรื่องราวเชิงลึกได้เสมอ แต่คดีนี้มีความแตกต่างออกไป วานและจอห์นสัน-แม็คโกลดริคต้องระดมความคิดที่มีทั้งความน่าตื่นเต้นและความสมจริงอยู่ในเรื่องราว

            “เราต้องผสมเรื่องจริงเข้ากับองค์ประกอบอีกหลายส่วน” จอห์นสัน-แม็คโกลดริค อธิบายว่า “มันมีหลายหุการณ์ในชีวิตจริงเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ และต้องเอามาผสมเข้ากันเป็นเรื่องเดียว เราต้องแต่งเติมช่วงองก์ 2 ที่เกี่ยวกับการค้นหาความลึกลับขึ้นมา แต่เราก็อิงจากสิ่งที่ลอร์เร็นร่วมมือกับตำรวจตามจริงด้วย”

            เมื่อมีการตัดสินใจได้อย่างชัดเจนแล้ว สิ่งต่อมาคือการค้นหาว่าจะเริ่มเรื่องราวต่างๆ อย่างไร ในคดี The Devil Made Me Do It ยังเป็นที่รู้จักในชื่อคดี Brookfield Demon Murder ซึ่งมี 2 ส่วนที่ต่างกันคือความทรมาณกับการสิงของเดวิด แกลตเซล ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกความสนใจมากในอดีต เอ็ดและลอร์เร็น วอร์เร็นถูกเรียกตัวมาช่วยเลหือ จนเกิดความทรมาณและการสิงอาร์นี่ เชอเยน จอห์นสันในภายหลัง เขาท้าทายปีศาจของเดวิดในช่วงที่ทำพิธีไล่ผีล่าสุดซึ่งเอ็ดได้มีการเตือนเอาไว้แล้ว หลายเดือนต่อมาจอห์นสันได้ฆ่าเพื่อนของเขาและเจ้าของบ้านในช่วงที่เขาอ้างว่าถูกผีสิง มีการสอบสวนหลังจากนั้นพร้อมความช่วยเหลือของครอบครัววอร์เร็น คำให้การของอาร์นี่อ้างว่าเขาไม่มีความผิดเพราะถูกผีสิง ทั้งสองเหตุการณ์ที่อังกฤษได้รับการพิจารณาจากศาลว่าถูกผีสิงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่มีผู้พยายามกล่าวอ้างเรื่องการถูกผีสิงเป็นข้อแก้ต่าง ซึ่งได้รับการปฏิเสธจากผู้พิพากษา กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่สร้างความสนใจให้วานและจอห์นสัน-แม็คโกลดริค

            เราต้องมีการเปลี่ยนความสนใจจากเดวิดมาที่อาร์นี่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป “เราเลือกจะเริ่มจากส่วนที่ดูเป็นบทสรุปธรรมดาของหนังเรื่อง ‘Conjuring’” จอห์นสัน-โกลดริคกล่าว “บ้านผีสิงในเรื่องถูกยกออกไปนอกจอแล้ว เราเข้าถึงพิธีไล่ผีได้เลย เพราะเราเคยเห็นในหนังกันมากอนแล้ว และทำให้เราเริ่มเรื่องของอาร์นี่ได้ทันที เรามุ่งไปหาเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นเรื่องราวได้เลย นั่นคือตอนที่อาร์นี่ท้าทายปีศาจ”

            เพื่อเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของอาร์นี่ให้ชัดเจน จอห์นสัน-แม็คโกลดริคได้ศึกษาข้อมูลในหลายส่วน คดีของ The Devil Made Me Do It เป็นข่าวระดับประเทศ นับเป็นคดีสะเทือนขวัญที่ทกคนต่างพูดถึงกันในเวลานั้น จอห์นสัน -แม็คโกลดริคสามารถหาบทความเก่าๆ ได้จากนิตยสาร Newsweek และ Time magazine รวมถึงบรรดาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่มีการตีพิมพ์เรื่องนี้กันทุกวัน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่กลับมีความสำคัญมาก เมื่อจอห์นสัน-แม็คโกลดริคพบว่าสำเนาต้นฉบับจากศาลเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายไป เพราะพวกเขาเปิดเผยว่ามีใครบ้างอยู่ในห้องพิจารณาคดีและตลอดการไต่สวนมีคำให้การจากพยานอย่างไรบ้าง จนทำให้คดีนี้เป็นที่กระจ่างชัด จอห์นสัน-แม็คโกลดริคจึงตัดสินใจที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้น

            “ผมสัมภาษณ์อาร์นี่ จอห์นสัน และ เด็บบี้ แกลตเซล” จอห์นสัน-แม็คโกลดริคเผยความลับ “ทั้งสองออกมาพร้อมกันแล้วมันช่วยให้ดีกว่าเสมอ อีกมุมหนึ่งคือเรากำลังจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เราก็เริ่มสบายใจแล้วว่าพวกเขาเป็นใคร นั่นคือสิ่งสำคัญเพราะเราต้องมีรายละเอียดต่างๆ เพื่อประกอบให้เป็นหนังขึ้นมา เรายังอยากย้อนความรู้สึกในมุมของพวกเขาเสมอ” พลังที่ส่งต่อกันระหว่างเอ็ดและลอร์เร็นคือความสร้างสรรค์ของทีมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และบวกกับจอห์นสัน-แม็คโกลดริคที่ต้องนึกภาพออกมา มันต้องมีทางสร้างความสมบูรณ์แบบนอกจากเรื่องการแต่งงานได้

            “ไม่มีใครอยากเห็นเอ็ดและลอร์เร็นทะเลาะกัน” จอห์นสัน-แม็คโกลดริคกล่าว “ผมรู้สึกว่ามีการโต้เถียงเดียวที่จะเกิดขึ้นได้คือใครจะอ่อนโยนกว่ากัน เอ็ดและลอร์เร็นอยู่ข้างเดียวกันตลอดเวลา”

            ซึ่งนี่นำไปสู่อีกหลายเรื่องราวในเรื่อง เอ็ด วอร์เร็นในชีวิตจริงเคยหัวใจวายตอนทำพิธีไล่ผีเมารีซ เธรีอัลท์ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง “Conjuring” ภาคแรก

            “ในวีดีโอบันทึกการไล่ผีเธรีอัลท์ของจริง” จอห์นสัน-แม็คโกลดริคกล่าว “คุณจะได้ยินเสียงลอร์เร็นถามเอ็ดว่าโอเคมั้ย เพราะเขาดูอาการไม่ดีเลย หลังจากนั้นไม่นานเขาก็หัวใจวาย เราเลือกที่จะนำมาใส่ในภาคนี้ ถึงแม้เรื่องหัวใจวายของเอ็ดไม่ได้เกิดในช่วงทำพิธีไล่ผีแกลตเซล แต่ก็มีส่วนที่อิงมาจากเรื่องจริง”             ในภาพยนตร์เรื่อง “Conjuring” ภาคก่อนๆ เอ็ดมักจะเป็นคนซ่อมรถหรือซ่อมอ่างน้ำ เขาเป็นคนกระฉับกระเฉงและขยับตัวตลอด แต่เหตุการณ์นี้ทำให้เขามีเรี่ยวแรงถดถอยลง ลอร์เร็นต้องกลายเป็นผู้นำแทน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเขาเลย

“ฉากที่เธอลงไปชั้นล่างของบ้านแทนเขา” จอห์นสัน-แม็คโกลดริคกล่าว “มันเป็นเรื่องยากสำหรับเขาที่ต้องอยู่ข้างนอก และเราได้เห็นลอร์เร็นเป็นฝ่ายจัดการ”

            ในบ้านผีสิงเอ็ดและลอร์เร็นมักจะเป็นผู้มีอำนาจเสมอ พวกเขาถูกเรียกตัวไปช่วยเหลือเพราะมีทักษะความชำนาญ พวกเขาไม่จำเป็นต้องออกมาพิสูจน์ตัวเองต่อหน้าใคร ในเรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” จะแตกต่างออกไป เพราะตอนนี้เอ็ดและลอร์เร็นต้องพยายามโน้มน้าวผู้มีความแคลงใจในศาสนาที่ศาล และตำรวจต้องช่วยพวกเขาเพื่อการช่วยเหลืออาร์นี่ พวกเขาต้องชนะทนายฝ่ายอาร์นี่ให้ได้โดยพาเธอไปยังห้องเก็บของ ซึ่งตำรวจสายลับ เคลย์ คืออีกคนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

            “นักสืบเคลย์เป็นตัวละครที่มีการผสมผสานอยู่ในตัว” จอห์นสัน-แม็คโกลดริค กล่าว “เขาไม่ได้มีตัวตนจริง แต่เป็นตัวแทนตำรวจตัวจริงที่ลอร์เร็น วอร์เร็นให้ความร่วมมือด้วย เราเก็บรายละเอียดจากคดีอื่นและมาผสมกันในตัวเขา เขาเป็นคนขี้สงสัยและเธอต้องพิสูจน์ตัวเองให้เห็น นั่นคือเรื่องจริงที่ลอร์เร็นต้องเจอเป็นประจำ”

สิ่งเก่า และ สิ่งใหม่

ภาพยนตร์เรื่อง ‘Conjuring’ แต่ละภาคเป็นความรักที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับเรื่องระทึกขวัญเหนือธรรมชาติ ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเอ็ดและลอร์เร็นปีเตอร์ ซาฟราน

            ตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา วีร่า ฟาร์ไมก้า และ แพทริค วิลสัน ได้รับบทเอ็ดและลอร์เร็น วอร์เร็นบนหน้าจอในจักรวาล “Conjuring” ทั้ง 3 ภาค ได้แก่ “The Conjuring,” “The Conjuring 2” และ “Annabelle Comes Home” ในช่วงนั้นความรักที่สองนักแสดงมอบให้กันได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านตัวละครบนหน้าจอ ชีวิตการแต่งงานที่มีความสุขจะยิ่งดีขึ้นตามอายุ ความรักระหว่างเอ็ดและลอร์เร็น วอร์เร็นตัวจริงก็แข็งแกร่งขึ้นตามกาลเวลาด้วย ไม่ต่างกับมิตรภาพระหว่างวิลสันและฟาร์ไมก้า

            “มันก็แปลกดีค่ะที่ได้โตไปพร้อมกับสามีสมมุติ” ฟาร์ไมก้าหัวเราะ “อาจจะฟังดูโบราณไปหน่อย แต่ความรักที่มีต่อแพทริค วิลสันยังคงสดใสอยู่เสมอ ฉันชื่นชมเขานะคะ เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เราบรรเทาความหดหู่และอารมณ์จากการทำงานโดยการหัวเราะไปด้วยกัน เขาทำให้ฉันหัวเราะได้ตลอดเลยค่ะ”

            “เราไว้วางใจกันตั้งแต่วันแรก” วิลสันเปิดเผย “นั่นคือจุดเริ่มต้นของเคมีที่เกิดขึ้น เราสบายใจเวลาอยู่ด้วยกัน พวกเรารักในมุมความแปลกของเอ็ดและลอร์เร็น แถมมีความสุขมากด้วยครับ”

            ในมุมของการถ่ายทอดเรื่องราว ผู้สร้างภาพยนตร์ใช้เวลานานมากพอจนมั่นใจว่าตัวละครเอ็ดและลอร์เร็นไม่ทิ้งความมีมนุษยธรรมของพวกเขา ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เรื่อง “The Conjuring” มาจนถึง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” เอ็ดและลอร์เร็นยิ่งมีความดุมากขึ้นเรื่อยๆ แต่พวกเขาก็มีความอ่อนแอและเจ็บปวดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ความรักของพวกเขาฝังแน่นและมีความคิดถึงกันตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่อ่อนโยนและเข้าใจได้เป็นอย่างดี

            “ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเอ็ดและลอร์เร็น” ซาฟรานอธิบาย “รางวัลชิ้นใหญ่อย่างหนึ่งที่เราได้รับในช่วงแรกมาจากลอร์เร็น วอร์เร็นตัวจริง เธอรู้สึกว่าเราถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในตัวเธอและเอ็ดออกมาได้อย่างงดงาม เราเก็บความรู้สึกนั้นเอาไว้เสมอในระหว่างที่พัฒนาเรื่องราวเหล่านี้ เราอยากให้เอ็ดและลอร์เร็นภูมิใจกับสิ่งที่เราทำ”

“หัวใจสำคัญของแฟรนไชส์เรื่องนี้คือความผูกพันและความรักระหว่างเอ็ดกับลอร์เร็น” ฟาร์ไมก้ากล่าว “นั่นคือสิ่งที่ทำให้ต่างจากหนังสยองขวัญเรื่องอื่น เพราะมันมีเรื่องความรักอยู่ด้วยค่ะ”

            แฟนๆ ของเอ็ดและลอร์เร็นจะได้พบกับความพิเศษในครั้งนี้ด้วย เพราะเราได้สรุปเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาของพวกเขาเอาไว้ จากครั้งแรกที่เราเห็นคู่รักวัยรุ่นเริ่มความสัมพันธ์ มันคือสิงที่แปลกในหนังสยองขวัญทั่วไป ไม่มีอะไรเกี่ยวกับปีศาจเลย เนื้อเรื่องเรียบง่ายและงดงาม ซึ่งไม่ใช่แค่หนังและตัวละครเหล่านีน้ แต่หมายถึงจักรวาลทั้งหมดของ  “Conjuring” มันไม่มีอะไรให้สงสัย แทบไม่มีอะไรนำไปหาความวุ่นวายได้เลย

            ความอบอุ่น ความรัก และความสดใสเริ่มต้นจากเอ็ดและลอร์เร็นตัวจริง มาจนถึงวิลสันและฟาร์ไมก้าผู้มารับบทเป็นพวกเขา ทุกอย่างขยายมาถึงทีมงานในกองถ่ายที่ทำให้เรื่องราวต่างๆ เป็นรูปร่างขึ้นมาได้ การทำงานในจักรวาลของ “Conjuring” เหมือนบรรยากาศในครอบครัว ทีมงานหลายคนรวมถึงช่างแต่งหน้า ทำผม ผู้ออกแบบฉาก นักแสดงผาดโผน นักแต่งเพลง ตากล้อง ผู้ประดิษฐ์ฉาก ผู้ช่วยผู้กำกับฯ และผู้ตกแตงฉาก รวมถึงนักแสดงกลับมาร่วมงานกันในโลกใบนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้รู้สึกว่าร่วมงานกันง่ายมาก และพิสูจน์ให้เห็นถึงบรรยากาศที่วานสร้างขึ้นมาตลอดหลายปีนี้

            “ผมอยากมีช่วงเวลาดีๆ ในการทำหนังที่ผมมีความสุขที่ได้ทำมัน” วานกล่าว “ผมอยากดื่มด่ำกับประสบการณ์รอบตัว”

            ตัวละครทั้ง 3 ที่กลับมารับบทบาทสำคัญในแฟรนไชส์ ได้แก่ สตีฟ โคลเตอร์ ผู้รับบทคุณพ่อกอร์ดอน ที่ปรึกษาฝ่ายแคทอลิคของครอบครัววอร์เร็น; แชนนอน คุก ผู้รับบทดรูว์ โธมัส ผู้อุทิศตัวช่วยสืบสวนเรื่องราวเหนือธรรมชาติของครอบครัววอร์เร็น และ สเตอร์ลิง เจอรินส์ ผู้รับบทจูดี้ ลูกสาวของครอบครัววอร์เร็นผู้มีศรัทธามั่นแต่มักจะถูกรังควานอยู่บ่อยครั้ง

            “ดรูว์และคุณพ่อกอร์ดอนมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเรื่องนี้” ชาเวสอธิบาย “พวกเขาช่วยทำให้คดีกระจ่างขึ้นมาก”

            การที่คุณพ่อกอร์ดอนเดินทางมายังบ้านของแกลตเซลในบรูคฟิล์ด สะท้อนถึงการเดินทางมาถึงของคุณพ่อเมอร์รินในบ้านของแม็คนีลที่จอร์จทาวน์จากเรื่อง “The Exorcist” หลังลงจากแท็กซี่ คุณพ่อกอร์ดอนได้หยุดยืนอยู่ใต้โคมไฟชั่วครู่หนึ่ง ฉากนั้นดูบรรยากาศล้ายกัน เขาสวมหมวกสีดำและสะพายย่ามหนัง เขามองไปยังหน้าต่างที่มีปีศาจในร่างเด็กกำลังมองเหม่อก่อนที่จะหายตัวไป คุณพ่อกอร์ดอนจึงรีบเดินไปที่ประตู

“ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ ‘Exorcist’ และอยากได้รับการตอบรับแบบหนังเรื่องนั้น” ชาเวสกล่าว “มันสนุกดีครับ เพราะมีการแสดงถึงความเคารพในเรื่อง ‘Exorcist’ และ ‘Psycho’ จากภาพคุณแม่ที่อยู่ตรงหน้าต่าง”

            “ไมเคิลชาเวสสนุกสนานกับมันมาก” โคลเตอร์กล่าว “และความกระตือรือร้นที่เขามีมันก็ลามถึงคนอื่น เจมส์ วานเองก็เช่นกัน ทั้งคู่เป็นคนรักหนังและมักจะแสดงความเคารพต่อหนังเรื่องอื่น”

            และเช่นเดียวกับภาคต่อของ “The Conjuring” เรื่องนี้ที่เอ็ดและลอร์เร็นต้องออกจากบ้าน มีส่วนร่วมกับโลกภายนอกที่กว้างขึ้น ทำให้เราเห็นว่าดรูว์ทำอะไรกับพวกเขา และค้นหาข้อมูลมาอย่างครบถ้วนขนาดไหน

            “ชาเวสทำให้ดรูว์เป็นตัวละครที่มีความลึกซึ้งมากขึ้น” คุกกล่าว “มีอะไรมากกว่าเรื่องความสัมพันธ์กับเอ็ดและลอร์เร็น เขาคอยเฝ้าระวังให้ทุกคนตลอดเวลา”

            แม้ว่าจะพบแต่ตัวละครที่คุ้นหน้า แต่นี่คือคดีใหม่ มีครอบครัวใหม่ และศัตรูหน้าใหม่ ตัวละครสำคัญของเรื่องคือแกลตเซล คาร์ล จูดี้ รับบทโดยพอล วิลสัน พี่น้องของแพทริค วิลสันและชาร์ลีน อาโมเอีย ลูกของพวกเขาคือเด็บบี้และเดวิดเป็นน้องชายของเธอ รับบทโดยนักแสดงหน้าใหม่ ซาราห์ แคทเธอรีน ฮุค และจูเลียน ฮิลเลียด เขามีอายุ 8 ขวบตอนที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ส่วนอาร์นี่ เชอเยน จอห์นสัน แฟนของเด็บบี้รับบทโดยนักแสดงชาวไอริช รูอินี่ โอ’คอนเนอร์

            การหาตัวนักแสดงที่ถ่ายทอดบทเด็บบี้และอาร์นี่ได้ต้องใช้เวลาออดิชั่นและการคัดเลือกที่ยาวนานมาก จนการค้นหามาจบที่ฮุคและโอ’คอนเนอร์  ตัวละครของทั้งคู่มีความแน่นแฟ้นและผูกพันกันมาอย่างยาวนาน นักแสดงวัยรุ่นต่างไม่เคยเจอกันมาก่อนแต่เคมีกลับพัฒนาอย่างรวดเร็วระหว่างการถ่ายทำ สะท้อนถึงสายสัมพันธ์ในแบบวิลสันและฟาร์ไมก้าได้ทันที

            “นี่คือ 2 บทบาทที่มีความสำคัญมาก” ซาฟรานกล่าว “พวกเขาทำให้ตัวละครมีความรักที่สะท้อนในแบบเดียวกับของเอ็ดและลอร์เร็น”

            “ไรนี่และซาราห์ แคทเธอรีนถ่ายทอดหัวใจสำคัญและความรักที่พวกเขามีต่อกันได้อย่างชัดเจน” ชาเวสเห็นด้วย “พวกเขามีทั้งความอบอุ่นและเสน่ห์ในตัวที่จะทำให้เราอินไปกับพวกเขา แม้ว่าจะมีพวกเขาจะพบว่าตัวเองอยู่ในจุดที่ย่ำแย่ที่สุดบนโลกก็ตาม”

อาร์นี่ จอห์นสันและเด็บบี้ แกลตเซลตัวจริงมีความมั่นคงต่อกันมาตลอด 41 ปีตั้งแต่ที่ได้พบกัน เด็บบี้เป็นทั้งผู้คุ้มกันดูแลที่ดีที่สุดของเขา และจะเห็นชัดเจนว่าเขารักเธอมากที่สุดขนาดไหน พวกเขาแต่งงานกันในห้องขังระหว่างที่อาร์นี่ถูกตัดสินฐานฆ่าคนโดยไม่ได้ไตร่ตรองก่อน และพวกเขารักษาชีวิตแต่งงานกันมาอย่างยาวนานจนกระทั่งเด็บบี้เสียชีวิตเมื่อปี 2021 ทั้งคู่รักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัววอร์เร็นจนกระทั่งเอ็ดเสียชีวิตเมื่อปี 2006 และลอร์เร็นเสียชีวิตปี 2019 รวมถึงลูกสาวของพวกเขาและสามีของเธออย่างจูดี้และโทนี่ สเฟียร่า

            “เธอมีความซื่อสัตย์ต่อทุกคนที่เธอรักอย่างสุดใจ” ฮุคเล่าถึงตัวเด็บบี้ “และเธอรักอาร์นี่มากที่สุดเลยค่ะ”

            ในเรื่องฮุคได้แสดงให้เห็นถึงการอุทิศตัวอย่างเต็มที่ “ประโยคแรกของเด็บบี้ในช่วงทำพิธีไล่ผี คุณจะได้ยินเธอบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นคนแบบไหน เธอรักครอครัวของเธออย่างไม่มีเงื่อนไข เคารพและชื่นชมในตัวเอ็ดและลอร์เร็น เธออยู่ติดกับครอบครัวเพื่อน้องชายของเธอ เพราะเดวิดไม่มีทางต้องการแบบนี้ และคุณจะเห็นว่าเธอมีศรัทธาแบบเดียวกันในตัวอาร์นี่เมื่อเรื่องราวดำเนินไป”

            นอกจากนั้นแล้วฮุคและโอ’คอนเนอร์ยังต้องเผชิญความท้าทายร่วมกัน เมื่อพวกเขาต้องอยู่ในเงาของตัวละครที่อิงจากบุคคลจริง ฮุคถามตัวเองบ่อยๆ ว่าทำไมเด็บบี้ถึงช่วยอาร์นี่หลังจากที่เห็นเขาแทงคนตายและพยายามยอมรับมัน มันเป็นการทดสอบความซื่อสัตย์ของเธออย่างไร เธอผ่านมันไปได้อย่างไรเมื่อต้องรับบทบาทนั้นอย่างไร้ข้อกังขา

            ส่วนโอ’คอนเนอร์ เขาได้พบกับหลุมดำที่อยู่ในตัวลึกยิ่งกว่านั้น

Text Box: “รัวรี่ต้องรับภาระหนักในการแสดงอาการถูกผีสิง เพราะไม่ใช่บทที่ง่ายเลย ตัวละครของเขาต้องเจอหลายอารมณ์ และมีความสับสนทางจิต”
- แพทริค วิลสัน
            “อาร์นี่ จอห์นสันเป็นตัวละครที่ซับซ้อน” ชาเวสยอมรับ “เขามีหลากหลายอารมณ์ที่ชัดเจน ทั้งเสียใจ เจ็บปวด โกรธแค้น ทุกอย่างรวมเข้ากับความหวาดกลัว”

            ในสภาพบรรยากาศที่ไม่ปกติเมื่ออาร์นี่ค้นพบตัวเอง โอ’คอนเนอร์ยังอยู่ในช่วงค้นหามุมมองเกี่ยวกับตัวละครของเขา เพื่อทำเขาดูมีความชัดเจนมากขึ้น และตัวละครอาร์นี่ของโอ’คอนเนอร์ดูทรมานอย่างลึกซึ้ง ซึ่งนั่นเป็นห้วงอารมณ์ที่อยู่กับตัวนักแสดงอย่างยาวนานหลายสัปดาห์ในช่วงท้าย

            “เราต้องหาความน่าสงสารของตัวละครเราให้เจอ” โอ’คอนเนอร์อธิบาย “ไม่ใช่แค่ตัดสินตัวละคร เราต้องเข้าใจมุมมองของเขาด้วย สิ่งที่ผมจะบอกคือผมถูกตัวละครนี้สิงจริงๆ ผมพยายามทำให้ตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกสิงแบบนั้นให้ได้”

            การถ่ายทำส่วนใหญ่ โอ’คอนเนอร์จะสงบอารมณ์ เก็บตัว และสวมหูฟังเพื่อฟังเพลงยุค 80 ระหว่างถ่ายทำ เพื่อรักษาภาพในจินตนาการของอาร์นี่เอาไว้ เขาไม่อยากให้เสียงที่อยู่ในความคิดของเขาหายไป แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็ถูกทำลายลง โอ’คอนเนอร์ดูความเป็นมืออาชีพของวิลสันและฟาร์ไมก้า พวกเขาต้องทุ่มเทกับการแสดงที่มีความเข้มข้น แต่มีการหยอกล้อพักสมองกันระหว่างฉาก ในช่วงนาทีหนึ่งพวกเขาต้องส่งเสียงกรีดร้องเพราะพวกปีศาจ แต่นาทีต่อมาก็พักดูวีดีโอตลกๆ บนโลกออนไลน์กัน ทำให้โอ’คอนเนอร์ได้เห็นอีกแนวการทำงานหนึ่ง

The Conjuring: The Devil Made Me Do It

            “สิ่งสำคัญคือการพักตัวจากพวกเรื่องถูกผีสิงกับท่าทางที่น่ากลัว” โอ’คอนเนอร์กล่าว “ทั้งเสียงกรี๊ดและการเฆี่ยนตีรอบตัว ผมเลยต้องเริ่มดูวีดีโอตลกๆ เพราะแพทริคและวีร่ามีความสุขกับสิ่งเหล่านั้นมาก”

            ฮิลเลียดมีส่วนรวมในฉากที่หลอนมากในเรื่องบางช่วง และต้องแสดงไม่ต่างกัน เขาเข้าใจบทบาทเป็นอย่างดี และรู้ว่าตัวละครกำลังโดนปีศาจหลอกหลอน “เขาต้องรับมือกับมันอย่างสาหัส” ฮิลเลียดกล่าว “เพราะปีศาจร้ายอยู่ในตัวเขา ผมรู้ว่าเขาไม่ชอบที่ปีศาจมาป้วนเปี้ยนรอบตัวแน่ๆ”

            ฮิลเลียดได้ร่วมแชร์ความสยองและให้ความทุ่มเทกับมันมาก เขาสามารถแยกความแตกต่างระหว่างฉากที่น่ากลัวกับความสมจริงออกมาได้ แม้จะอยู่ในฉากที่มีความน่ากลัวอย่างดุเดือดก็ตาม มิตรภาพระหว่างเขากับผู้กำกับฯ ไมเคิล ชาเวสมีความพิเศษมาก และนั่นยังช่วยให้เขาเข้าถึงตัวละครได้ดี “ไมเคิล ชาเวสเป็นผู้กำกับการแสดงที่น่ารักและอ่อนโยน” เขากล่าว “เรามีการจับมือกันแบบที่ไม่เหมือนใครด้วย ซึ่งผมบอกใครไม่ได้เพราะมันเป็นความลับ แต่เรามีการจับมือกันแบบนั้นจริงๆ เป็นอะไรที่เท่มาก”

                เพื่อนพิเศษอีกคนหนึ่งที่ฮิลเลียดได้ระหว่างถ่ายทำคือแมวทรานซิลวาเนียนที่ได้รับการช่วยเหลือชื่อ ปุ๊กกี้ ทีมงานคนหนึ่งได้ช่วยชีวิตเอาไว้ระหว่างถ่ายทำเรื่อง “The Nun” ในโรมาเนีย ปุ๊กกี้เป็นสมาชิกอีกรายหนึ่งในจักรวาล  “Conjuring” ที่กลับมาอยู่ในกองถ่ายที่ต่างๆ ทุกครั้งที่ทำได้ “ปุ๊กกี้เป็นแมวครับ และเขาก็น่ารักมากด้วย” ฮิลเลียดกล่าว “เขามักขี้อายเวลาเจอคนแปลกหน้า แต่ก็เป็นแมวใจดี ผมคิดว่าคุณต้องรักเขาแน่ เขาน่ารักมาก ผมชอบเรียกเขาว่าปุ๊กกี้มอนสเตอร์”

โดยรวมแล้วฮิลเลียดรู้สึกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์บ้านอีกหลังที่อยู่ห่างจากบ้านของตัวเอง เขามีความสุขกับทีมงานและนักแสดงทุกคน ความทรงจำที่ดีอย่างหนึ่งในฉากคือตอนที่ทุกคนมาฉลองวันเกิดให้เขา “มันดีมากเลยครับ พวกเขาเซอร์ไพรส์ผมด้วยเค้ก 2 ก้อนวันแรกของการถ่ายทำเพื่อฉลองวันเกิดรอบที่ 8 ของผม” ฮิลเลียดกล่าว “นักแสดงและทีมงานทุกคนร้องเพลงให้ผม และผมได้ของขวัญเป็นโยโย่เกือบ 20 อันจากคนส่งของ มันดีมากเลย!”

            ความแตกต่างอีกอย่างจาก “Conjuring” ภาคก่อนๆ คือศัตรูไม่ใช่ผู้ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ลอร์เร็นพบกับคนที่น่าสนใจในร่างของผู้ลึกลับ รับบทโดยเออจีนี่ บอนดูแรนต์ เธออยู่ฝั่งด้านมืดที่ตรงกันข้ามกับจุดยืนของลอร์เร็นทุกอย่าง เธอเยาะเย้ยในศรัทธาของเอ็ดและลอร์เร็นอย่างชัดเจน และเชื่อในซาตานผู้คุมพลังมืด ลอร์เร็นมีความอ่อนแออยู่ในตัวและเกิดการท้าทายกับผู้ลึกลับ ทำให้การเดิมพันใน “Conjuring” มีพลังที่ต่างออกไป

            “ผู้ลึกลับก็เหมือนลอร์เร็น หากเธอเลือกทางเดินอีกด้าน” จอห์นสัน-แม็คโกลดริคกล่าว

การสร้างจักรวาลขึ้นมา

The Conjuring: The Devil Made Me Do It

นี่คือครั้งที่ 4 ของผู้ออกแบบฉาก เจนนิเฟอร์ สเปนซ์ ในจักรวาลของ “Conjuring” แต่เป็นครั้งแรกที่เธอได้อิงจากคดีจริงของวอร์เร็น ความรับผิดชอบขอองสเปนซ์เกิดขึ้นจากความหลงใหลด้านปีศาจและฉากทำลายล้างเพื่อทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญอยู่ที่เธอต้องออกแบบทุกอย่างในเรื่องบนความสมจริง บางสิ่งต้องเลือกตั้งแต่ช่วงแรกๆ เช่น โทนสี

            “ฉันหลงใหลเอิร์ธโทนค่ะ” สเปนซ์กล่าว “สีเขีวและสีฟ้า ฉันเลือกที่จะออกแบบหนังทั้งเรื่องด้วยโทนนั้น”

            ฉากที่สร้างขึ้นมาอย่างโดดเด่นที่เราเห็นในเรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” คือบ้านของครอบครัวแกลตเซล สร้างอิงจากบ้านของทราวิสที่เซโนยา รัฐจอร์เจีย บ้านสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรียปี 1910 ที่เหมือนหลุดมาจากนิตยสารผู้หญิง รูปแบบตรงตามประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น บ้านหลังเดียวกันนั้นถูกใช้เมื่อปี 1991 ในเรื่อง  “Fried Green Tomatoes” ตั้งแต่วอลเปเปอร์ไปจนถึงพรม เฟอร์นิเจอร์ และผ้าม่าน สเปนเซอร์ทำให้ดูเหมือนเขาวงกต มีการใช้สีเขียว ฟ้า สีเหลืองอ่อน และสีน้ำตาลธรรมชาติที่เทียบกับสีไม้ ต้นหญ้า และต้นไม้เท่าที่จะนึกภาพออก ทุกอย่างมาจากสิ่งที่อยู่บนโลกทั้งหมด

            “ครอบครัวแกลตเซลย้ายออกจากที่นั่นเพื่อหาความสงบ” เธออธิบาย “ตัวบ้านไม่ได้มีความชวนหลอนอะไร ที่นั่นเป็นบ้านที่น่ารักแต่มีความน่ากลัวมาครอบงำ ตัวบ้านดูหมองหม่นจากความโกรธแค้นของปีศาจไม่ต่างกัน”

            ในอดีตสเปนเซอร์เคยใช้สีแดงเพื่อสื่อถึงปีศาจ และใช้สีเขียวเพื่อสื่อถึงการติดเชื้อ แต่เธอเลือกสีโทนอ่อนเพื่อสื่อถึงความเศร้า เธอมักจะเตือนช่างสีในเรื่องนี้เสมอให้ระวังเรื่องการใช้สีเข้ม เพราะไม่อยากให้ดูเหมือนบ้านที่น่ากลัว จนเวลาผ่านไปสีเขียวอ่อนของเธอกลายเป็นสีที่ดูมีความสดใสขึ้นมา

            สเปนเซอร์เล่าว่าเธอไม่เคยว่างเว้นจากการทำงานเลย แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างพักกงาน เธอมักจะสังเกตโลกที่อยูรอบตัว ออกไปท่องเที่ยวและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด แม้แต่ที่บ้านในแอล.เอ. ถ้าเธอขับรถไปที่ไหนและเห็นอะไรแปลกตา เช่น ประตูสวยๆ หรือเก้าอี้แปลกๆ เธอจะถ่ายรูปเก็บไว้ตลอด ในความคิดของเธอมักจะนึกถึงกรถ่ายทอดเรื่องราวออกมา แม้ว่าจะยังไม่มีเรื่องราวนั้นก็ตาม เธอมีอารมณ์เป็นตัวนำพาไม่ต่างกับการใช้จินตนาการต่างๆ

            “ถ้าเราเดินไปที่ไหนแล้วทำให้เรารู้สึกบางอย่างหรือกลัวได้” สเปนเซอร์กล่าว “อาจเป็นพวกกลิ่นจากความชื้น ความเย็น หรือบรรยากาศมืดๆ พวกนั้นจะช่วยเราถ่ายทอดเรื่องราวได้”

            ฉากหนึ่งที่เป็นลายเซ็นของสเปนซ์ในภาคต่อของ “Conjuring” คือฉากห้องเก็บของแห่งใหม่ ตอนที่เอ็ดและลอร์เร็นเชิญคุณพ่อแคสเตอร์ที่รับบทโดยจอห์น โนเบิล จากการแนะนำของคุณพ่อกอร์ดอน แคสเตอร์ได้พาพวกเขาลงไปยังห้องสมุดที่อยู่ด้านล่างตัวบ้าน ที่นั่นไม่ได้มีแค่พวกหนังสือที่น่ากลัวหรือพลังลึกลับ แต่ยังเต็มไปด้วยข้าวของที่ดูแล้วรบกวนจิตใจและสื่อถึงลางร้ายทั้งนั้น แม้แต่ชั้นวางของจากไม้ก็เต็มไปด้วยพวกหัวกะโหลก ตุ๊กตาน่ากลัว เครื่องราง รูปสลัก ถ้วยชาม ภาพเก่าๆ ซากสัตว์จำลอง และกล่องเวทมนตร์ที่เต็มไปด้วยฝุ่นในห้องของแคสต์เนอร์ เมื่อเข้าไปที่นั่นลอร์เร็นบอกกับเขาว่า “คุณควรเผาพวกนี้ทิ้งให้หมด” แคสต์เนอร์ตอบกลับว่า “ผมก็คิดอยู่ แต่รู้สึกว่าการเก็บพวกมันไว้ที่นี่น่าจะปลอดภัยกว่า” เอ็ดชำเลืองมองลอร์เร็น ซึ่งเป็นสายตาที่มองกันแล้วรู้ว่าพวกเขาจะทำแบบเดียวกัน

            “พอฉันณู้วาจะมีห้องเก็บของแห่งใหม่ในเรื่องนี้ด้วย” สเปนซ์จำตอนนั้นได้ “มันทำให้ฉันกลัวเลยค่ะ เพราะห้องเดิมมันดูมีเอกลักษณ์ในตัวสูงมาก”

            เธอใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์ไปดูร้านขายของเก่ากับเพื่อนๆ ทีมงานและลิซ่า ซัน ผู้ตกแต่งฉากของเธอที่จะมาช่วยค้นหารายละเอียดเพื่อสร้างความโดดเด่น ที่นั่นเต็มไปด้วยพวกชิ้นส่วนจำลองร่างกายและสิ่งมีชีวิต แมลง และพวกหมูอยู่ในขวดโหล พวกเขามอบหมายให้ผู้ชำนาญในท้องถิ่นผลิตพวกของประหลาดขึ้นมา หลังจากนั้นไม่นานห้องสมุดของแคสต์เนอร์ก็มีชีวิตขึ้นมาในแบบของมัน

            “มันเหมือนด้านมืดของครอบครัววอร์เร็น” สเปนซ์เปิดเผย “มันน่าขยะแขยงมากกว่า”

ส่วนใหญ่ในเรื่อง “The Conjuring: The Devil Made Me Do It” มีการถ่ายทำใน Pinewood Studios Atlanta (ตอนนี้คือ Trilith Studios) ที่ฟาเยตวิลล์ในโรงถ่ายที่ 9, 15, 16 และ 18 ซึ่งจะมีหลายฉากสร้างขึ้นมาที่นั่น เช่น ภายในบ้านของแกลตเซล ภายในบ้านของวอร์เร็น ทางเดินใต้ฟาร์มของแคสต์เนอร์และห้องโถงขนาดใหญ่ ขอบหน้าผาที่ลอร์เร็นได้พบกับความน่ากลัว กองถ่ายยังมีการใช้พื้นที่โรงถ่ายบางส่วนมาสร้างฉากในป่าด้วย

            ฉากอื่นที่เพิ่มเข้ามาจะใช้พื้นที่ในแอตแลนต้า เช่น Stone Mountain ในฉากที่มีไม้บนเกาะอินเดียน และ Washington W. King Bridge ใช้จำลองเป็นสะพานที่ครอบคลุมคอนเนคติคัท นิวแนนได้จัดสถานที่ 3 แห่งให้ภาพยนตร์ เริ่มจากที่สำนักงานศาล Coweta County Superior Courthouse ที่ใช้จำลองเป็นศาล Danbury Superior Court ที่ เมอริล ทนายของอาร์นี่พยายามจะยื่นคำร้องโดยให้เหตุผลเรื่องการถูกปีศาจสิง รวมถึงที่ Alamo Theater สำหรับฉากย้อนไปหาเดทแรกระหว่างเอ็ดและลอร์เร็น และสุดท้ายคือ Old Piedmont Hospital ที่จำลองเป็น  Bridgeport Correctional Center และด้านในของ Palmeri Funeral Home โดยพัลเม็ตโตได้จัดสถานที่ให้อาร์นี่ทำงานตำแหน่งคนตัดแต่งต้นไม้ และ Griffin ในสถานที่ของ Bruno Saul’s Brookfield Boarding Kennels และ Starrs Mill ใน Unincorporated Fayette County ที่ใช้จำลองเป็นฟาร์มและห้องสมุดของคุณพ่อแคสต์เนอร์ และเมืองแอตแลนต้าที่ใช้สถานที่ 2 แห่ง Cheshire Motel จำลองเป็น Bruneau Motel และ Westview Cemetery จำลองเป็นด้านนอกของ Palmeri Funeral Home

            การทำงานของผู้กำกับภาพ ไมเคิล เบอร์เจสได้สะท้อนให้เห็นถึงผลงานของสเปนซ์ทั้งหมด  มีการจัดแสงในฉากให้ออกมาดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุด จัดเงาให้ดูดีที่สุด เบอร์เจสคืออีกคนหนึ่งที่กลับมาร่วมงานในจักรวาล “Conjuring” จาก 3 เรื่องที่ผ่านมา โดยเขาจะใช้ประโยชน์จากการออกแบบและการถ่ายภาพให้ได้มากที่สุด

            “ผมต้องชมเชยในการออกแบบ โทนสีในฉากของของเจ็น สเปนซ์ที่ทำให้ทุกอย่างดูโดดเด่นขึ้นมา” เบอร์เจสกล่าว

            วิธีหนึ่งของเขาคือการผสมแสงอุ่นและเย็นเข้าไปเพื่อเพิ่มรายละเอียด ซึ่งทำให้เขารู้สึกว่าเพิ่มความน่ากลัวขึ้นมามากด้วย ในช่วงแรกของเรื่องที่บ้านของแกลตเซลและวอร์เร็น เขาเลือกใช้โทนที่ดูอบอุ่นขึ้น แต่พอออกสู่โลกภายนอก เขาจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้โทนเย็นลง โดยเฉพาะในฉากห้องคุมขัง เพื่อเพิ่มความโดดเดี่ยวอ้างว้างเข้าไป

            ฉากหนึ่งที่มีการใช้แสงไฟแทนการใช้วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คือภาพที่เปลี่ยนแปลงในป่า ตอนที่ลอร์เร็นเกิดภาพจินตนาการเชื่อมโยงระหว่างอดีตกับ 2 เรื่องราว ในช่วงที่ค้นหาเบาะแสร่วมกับเอ็ดและเคลย์ในป่า ลอร์เร็นก้มตัวลงไปแตะพื้น ระหว่างนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากกลางวันเป็นกลางคืนอย่างน่าทึ่งตามที่เห็นบนหน้าจอ

            “เราอยากให้มันดูต่างจากการเปลี่ยนภาพบนหน้าจอแนวแฟนตาซี” เบอร์เจสอธิบาย “ชาเวสมีไอเดียว่าจะใช้แสงไฟเคลื่อนที่ เราเลยใช้เทคโนเครนขนาด 50 ฟุตเพื่อส่องไฟทั่วเฟรม โดยใช้แสงไฟสลัวสลับกันเพื่อสร้างภาพลวงตาจากกลางวันเป็นกลางคืน”

            อีกฉากหนึ่งที่เบอร์เจสตื่นเต้นในการนำเสนอ คือสิ่งที่วานยอมรับว่าเป็นลายเซ็นของเขาในช่วงแรกของการทำงานเรียกว่า “โอเนอร์” ซึ่งเป็นการออกแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของกล้องอย่างประณีตเพียงครั้งเดียว วานใช้เทคนิคนี้จนเป็นที่เลื่องชื่อในฉากไล่ล่าตรงอู่ซ่อมรถ จากภาพยนตร์ปี 2007 เรื่อง “Death Sentence” โดยใช้กล้องควบคุม 7 ตัว พร้อมด้วยเครนยก 2 เครื่อง เครื่องส่ง 20 เครื่อง ดอลลี่ที่ผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษและกล้องแฮนด์เฮลด์ที่มีลวดสลิงแขวนพิเศษ ในจักรวาล “Conjuring” วานได้ใช้เทคนิคนั้นอีกครั้งในฉากที่ครอบครัวเพอร์รอนเดินทางมาถึงบ้านใหม่ครั้งแรก และจอห์น ลีโอเน็ตติเคยใช้ในเรื่อง “Annabelle”

            “มันมีความสนุกเวลาได้ใช้ ‘โอเนอร์’ ในจักรวาล ‘Conjuring’ ที่จะพาตัวละครต่างๆ เข้าสู่ดินแดนพิเศษ” เบอร์เจสกล่าว “สำหรับครั้งนี้เราใช้เครนควบคุมที่บ้านของบรูโน่ พอเครนเลื่อนตัวลงมา เขาจะใช้กล้อง Steadicam ถ่ายภาพบ้านทั้งหมด ระหว่างที่เราติดตามเด็บบี้ อาร์นี่ และบรูโน่ตลอดจนออกไปที่ประตูหลัง นั่นคือฉากที่สนุกดีครับ”

          ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ลีอาห์ บัตเลอร์ เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยร่วมงานในเรื่อง “Conjuring” ส่วนในเรื่อง  “The Devil Made Me Do It” คือการกลับมาร่วมงานเป็นครั้งที่ 3 ของเธอต่อจาก “Annabelle: Creation” และ “Annabelle Comes Home” ซึ่งเป็นผลงานแนวพีเรียดทั้งสองเรื่อง สิ่งหนึ่งที่สำคัญในผลงานของเธอคือการพัฒนาตัวละครให้ดูสมจริงผ่านเสื้อผ้าและการออกแบบของเธอ โดยเธอจะเริ่มจากการหาข้อมูล โดยเฉพาะในฉากของเรื่องราวต่างๆ ที่สะท้อนถึงยุคสมัยก่อน

            “ฉันเริ่มจากภาพโดยรวมของยุคนั้นค่ะ” บัตเลอร์กล่าว “ทั้งกระแสความนิยม การเมือง ความนิยมในสังคม ฉันอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทุกอย่างที่มีอยู่ในมือ ตั้งแต่นิตยสารแฟชั่นไปจนถึง National Geographic

            สำหรับการทำงานจากแฟ้มคดีที่เป็นเรื่องจริง บัตเลอร์ยังสนุกกับการอิงข้อมูลต่างๆ จากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และพวกวีดีโอประกอบ ซึ่งทำให้เธอเข้าใจทั้งอาร์นี่ จอห์นสันกับเด็บบี้ แกลตเซล รวมถึงเอ็ดและลอร์เร็น วอร์เร็นด้วย นอกจากนั้นในภาคที่ 2 บัตเลอร์ได้ออกแบบให้ทั้งตัวละครเอ็ดและลอร์เร็น เธอมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างคู่รักตัวจริงกับความเป็นวิลสันและฟาร์ไมก้า

            “หลายคนไม่ทันคิดว่าเอ็ดและลอร์เร็นตัวจริงชอบสวมเสื้อผ้าที่แมตช์กัน เนคไทค์ของเขาจะต้องดูเข้ากับกระโปรของเธอ” บัตเลอร์ยกตัวอย่าง “เราจัดชุดแบบนั้นให้เห็นหลายครั้งในหนัง แต่ก็มีชุดอื่นสวมใส่ด้วย บางครั้งก็จะเป็นโทนสีหรือลวดลายที่คล้ายกันแทน ส่วนมากพวกเขาจะชอบแต่งตัวแบบนั้น”

            ในช่วงแรกของเรื่อง เอ็ดและลอร์เร็นต่างสวมชุดสีดำ เสื้อผ้าของพวกเขาจะดูต่างจากสมาชิกคนอื่นเพราะเป็นตัวแทนศาสนา อยู่ในภารกิจกอบกู้ดวงวิญญาณของเดวิด พวกเขาเหมือนกับบาทหลวงและแม่ชีที่มารวมตัวกับ คุณพ่อกอร์ดอน ตัวแทนผู้ทำพิธีทางศาสนาที่สวมชุดสีดำเช่นกัน เสื้อเชิ้ตโปโลกับแถบสีขาวของวิลสันอาจดูคุ้นตา เพราะเขาสวมใน “Conjuring” ภาคอื่นด้วย นอกจากชุดเครื่องแบบพิธีทางศาสนาแล้ว ช่วงแรกของเรื่องจะเน้นไปที่สภาพร่างกายของเขา เพราะหลังจากนั้นจะดูอ่อนแรงลง เห็นได้จากเสื้อผ้าในเรื่องหลังจากนั้น เขาดูแต่งตัวรัดกุมขึ้น สวมชุดที่สะท้อนความรู้สึกว่าเขาดูอายุมากขึ้นและเปราะบางมากขึ้น

            ขณะที่ลอร์เร็นต้องทำจิตใจให้เข้มแข็ง เสื้อผ้าของเธอค่อนข้างแสดงออกอย่างชัดเจนผ่านโทนสีฟ้าและเขียวของสเปนซ์

            มีสีสันหลากหลายเฉดสำหรับเสื้อผ้า ลวดลายของใช้ในบ้าน และวอลเปเปอร์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายจึงต้องร่วมงานกับผู้ออกแบบฉากอย่างใกล้ชิด สำหรับบัตเลอร์มันมีส่วนช่วยตรงที่สเปนซ์เป็นเพื่อนสนิท และนี่คือหนังเรื่อง 11 ที่พวกเขาได้ร่วมงานกัน

            “ในช่วงปลายยุค 1970 และต้นยุค 80 จะมีโทนสีที่ชัดเจนและมีความสำคัญต่อการกำหนดสีสันให้ตัวละครเหล่านี้” บัตเลอร์กล่าว “ผมร่วมงานกับเจนอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าบ้านให้ความรู้สึกแบบไหน ตัวละครต่างๆ ที่เธอสร้างขึ้นมาดูเป็นอย่างไร”

            ผู้ชำนาญด้านฉาก เคท กวนซี เป็นผู้ร่วมงานคนใหม่ในจักรวาล “Conjuring” แต่ถ่ายทอดความรู้และความสามารถสู่ผลงานแฟรนไชส์นี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ความท้าทายของเธออยู่ที่การสร้างฉากที่มีความโดดเด่นในหนังหลายฉากขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของการถ่ายทำ ซึ่งรวมถึงรูปสลักบนเสาของผู้ใช้เวทมนตร์ และถ้วยใส่ไวน์สำหรับการทำพิธีด้วย

            “รูปสลักมีขั้นตอนการทำงานที่เยอะมาก” กวนซีจดจำได้ “มีการทบทวนกันหลายรอบเพื่อความถูกต้อง เพราะมันมีความสำคัญมาก มันมีการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้เวทมนตร์กับบรรดาเหยื่อของเธอ”

            ในช่วงแรกจะมีทั้งหมด 5 แบบ โดยสร้างจากพวกชิ้นส่วนเล็กๆ ก่อน เช่น เส้นปอ กระดูกสันหลังงู กระดูกหนู หางกวาง ขากรรไกรปลา และแขนแมงป่อง ทุกอย่างถูกจำลองขึ้นมา และแน่นอนว่าไม่มีกระดูกหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์จริง พวกเขาใช้พวกพลาสติก การทาสี การตากแห้ง การพ่นสีจากธรรมชาติ เช่น ราสเบอร์รีบด ทุกอย่างเป็นสิงที่หาได้จากในบ้าน แต่เราไม่รู้เวลาที่เห็นในฉากหรือบนหน้าจอ

            เมื่อแต่ละเวอร์ชั่นนำเสนอต่อชาเวส เขาจะคิดถึงโทนสีของวัตถุ ซึ่งมันจะต้องไม่ถูกฉากหลังกลืน มีความโดดเด่นออกมา ต้องนึกภาพว่าควรมีความกว้าง ความสูง สัดส่วนที่สอดคล้องกันเท่าไหร่ และมีรายละเอียดส่วนไหนที่เขาชอบหรือไม่ชอบ ถ้าเขาชอบอะไรก็จะนำไปผสมกับส่วนประกอบและไอเดียใหม่ๆ ต่อ ซึ่งทีมงานจะได้ทุกอย่างตรงตามเวลา

            “ทุกอย่างเสร็จสิ้นและผ่านการอนุมัติมาแล้วเมื่อมาอยู่บนหน้าจอ และพวกเขาตะโกนว่า ‘แอ็คชั่น’” กวนซีหัวเราะ

            สำหรับถ้วยของผู้ใช้เวทมนตร์ จะมีส่วนที่คล้ายกันในช่วงทดลองและทดลองใหม่ โดยในช่วงแรกจะมีการคุยกันซึ่งรวมถึงชาเวสกับสเปนซ์ด้วย

            “พวกเราต่างมีจินตนาการของตัวเอง” กวนซีเล่าถึงตอนนั้น “และเราก็ผสมไอเดียทั้งหมดเข้าด้วยกัน”

            ถ้วยทำพิธีเริ่มจากแก้วทองประดับด้วยพลอยที่ทำให้นึกถึงกษัตริย์อาร์เธอร์ ก่อนจะนำมาแปลงสภาพให้เป็นหินที่ดูเหมือนไม้ แต่นั่นก็ยังดูไม่ลงตัวจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นไม้ต้นมะกอก ซึ่งไม่มีอะไรเหมือนอย่างที่กำหนดเอาไว้ ผู้ช่วยด้านการผลิตฉาก มาเดอไลน์ เกรย์สันจึงสั่งทุกอย่างทางออนไลน์ที่จะใช้มาผสมผสานกับชามรูปแบต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งที่มีเอกลักษณ์ขึ้นมาได้

            “มีของอย่างหนึ่งที่เธอสั่งมาคือเชิงเทียนเขากวาง” กวนซีกล่าว “มันไม่ตรงกับอะไรที่เราต้องการเลย แตทำให้เกิดไอเดียเรื่องการนำสัตว์และองค์ประกอบจากธรรมชาติมารวมกันเพื่อผลิตถ้วยทำพิธีของเธอขึ้นมา”

            จากนั้นผู้จัดหาของประกอบฉาก เจน เรน ได้แกะสลักเขากวางที่ผสมความสร้างสรรค์ของพวกเขาเข้ากับพวกดินเหนียวต้นแบบ เมื่อเธอผลิตสิ่งที่ทุกคนชอบขึ้นมาได้ ทีมงานคนอื่นจะทำการผลิตโมลด์ 4 ด้านขึ้นมาให้เหมือนเขากวาง หลังจากทำความสะอาด ตาสี ใส่รายละเอียดให้ดูมีชีวิตและดูมีอายุนับร้อยปีแล้ว ฐานอันใหม่จะนำมาติดกับถ้วยทองเหลืองเพื่อให้ได้ถ้วยสำหรับการทำพิธีขึ้นมา

            “ฉันรักในผลลัพธ์ที่ออกมา” กวนซีกล่าว “มันเหมือนเขากวางที่มีความแข็งแกร่ง สื่อถึงการต่อสู้ และมีความอ่อนช้อยอยู่ในถ้วย สื่อถึงความสงบ”  

            เมื่อโจเซฟ บิชาร่าที่เคยร่วมงานในจักรวาล “Conjuring” กลับมาร่วมแต่งเพลงให้ เขาไม่ได้ปรับปรุงแค่ธีมของเพลงที่อยู่ในเรือง แต่ยังสร้างช่วงเวลาที่ชวนหลอนขึ้นมามากขึ้นด้วย

            ประเด็นสำคัญอยู่ที่ชาเวสหวังว่าผู้ชมจะสนุกกับประสบการณ์ที่ระทึกขวัญของ “Conjuring” อีกครั้งหนึ่ง “ผมรู้ว่าพวกเขาต้องหวาดผวา แต่หวังว่าจะพบกับความเซอร์ไพรส์ด้วย ความสนุกในหนังพวกนี้อยู่ที่เราได้พบกับเรื่องที่คุ้นคย มิตรภาพระหว่างเอ็ดและลอร์เร็น และเรื่องอันตรายที่พวกเขากำลังก้าวเข้าไปเผชิญ แต่พวกเขาก็มีพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในทุกเรื่องราว ผมตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นปฏิกิริยาการตอบรับของผู้ชม”

สวมเกราะป้องกันจากพระเจ้าเอาไว้ เราอาจยืนคนละฟากฝั่งกับปีศาจ พลังจากความชั่วร้ายต่างๆ บนโลกใบนี้

ลอร์เร็น วอร์เร็น

Facebook Comments
ติดต่อ Maganetthailand.com
Don`t copy text!