ผมบอกคุณได้คำเดียว : เทเน็ท
มันจะเปิดประตูบานที่ถูก และประตูบานที่ผิดใช้อย่างมีสติ

เข้าฉาย: 27 สิงหาคม 2563
ประเภท: Action, Sci-Fi
ผู้กำกับ: Christopher Nolan
นักแสดง: John David Washington, Robert Pattinson, Elizabeth Debicki
อาวุธเป็นเพียงหนึ่งคำ เทเน็ท และการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดจากทั่วโลก ตัวละครได้เดินทางผ่านรุ่งอรุณแห่งการโจรกรรมข้ามประเทศ ในภารกิจที่จะเปิดโปงบางสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลาจริง ไม่ใช่เป็นการเดินทางข้ามเวลา แต่เป็นการย้อนกลับ
นักแสดงในเรื่อง “Tenet” นำโดย โรเบิร์ต แพททินสัน, เอลิซาเบธ เดบิคกี้, ดิมเพิล คาพาเดีย, มาร์ติน โดโนแวน, ฟิโอน่า ดูริฟ, ยูริ โคโลโคลนิคอฟ, ไฮเมช พาเทล, เคลเมนซ์ โพซี่, อารอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน พร้อมด้วยไมเคิล เคน และ เคนเนธ บรานอห์
โนแลนเขียนบทฯ และกำกับฯ ภาพยนตร์ โดยใช้การผสมผสานระหว่าง IMAX® และฟิล์ม 70 มม. เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวสู่จอยักษ์ ภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” อำนวยการสร้างฯ โดยเอ็มม่า โธมัส และ โนแลน อำนวยการสร้างบริหารฯ โดยโธมัส เฮย์สลิป
ทีมงานเบื้องหลังของโนแลน ได้แก่ ผู้กำกับภาพ ฮอยท์ แวน ฮอยทีมา ผู้ออกแบบฉากฯ นาธาน โครว์ลีย์ ผู้ลำดับภาพ เจนนิเฟอร์ เลม ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เจฟฟรีย์ เคอร์แลนด์ ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ฯ แอนดรูว์ แจ็คสัน และผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ สก็อตต์ ฟิสเชอร์ เพลงประกอบภาพยนตร์โดยลุดวิก โยรันส์สัน
ภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” มีการถ่ายทำในสถานที่หลายแห่งถึง 7 ประเทศ
วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์จาก a Syncopy Production, a Film by Christopher Nolan เรื่อง “Tenet” วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” ในโรงภาพยนตร์และระบบไอแมกซ์ทั่วโลก
รายละเอียดการถ่ายทำ
คุณต้องเริ่มมองโลกในมุมใหม่
คนส่วนใหญ่มองว่าเวลาคือสิ่งที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเราอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ในมุมของผู้สร้างภาพยนตร์ คริสโตเฟอร์ โนแลน เวลากลับเป็นสิ่งที่จับต้องเปลี่ยนแปลงได้ สามารถปรับพลิก เปรียบเทียบ… หรือกลับทิศทางได้ โนแลนเป็นผู้เขียนบทฯ ผู้กำกับฯ และผู้อำนวยการสร้างฯ เรื่อง “Tenet” ได้เล่าว่า “เรื่องราวเกี่ยวกับแนวคิดของเรื่องเวลาและความคุ้นเคยที่เรามี ผสมกับองค์ประกอบของเรื่องราวแนวไซไฟสายลับสุดคลาสสิค”
โนแลนเปิดเผยว่าในเรื่อง “Tenet” เป็นคอนเซ็ปต์ที่เขาคิดวพักหนึ่งแล้ว โดยยอมรับว่า “ในฐานะของผู้สร้างภาพยนตร์เราจะมีไอเดียอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว เป็นสิ่งที่เราเก็บไว้มานานนับสิบปีกว่าจะเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ มันต้องมีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในทุกด้าน สำหรับผมแล้วมันมีความอยากย้อนกลับไปหาสไตล์การสร้างภาพยนตร์แบบเมื่อก่อนรวมเข้ามาด้วย หลังจากเรื่อง ‘Dunkirk’ และได้พาผู้ชมไปอีกหลายแห่งทั่วโลกเยอะกว่าที่เราเคยไปกันมา ผมรู้สึกว่าตัวเองพร้อมสำหรับหนังแนวสายลับด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมตั้งใจจะสร้างมาโดยตลอด ผมโตมาพร้อมกับความรักหนังสายลับ มันมีทั้งความสนุกและตื่นเต้นในเรื่องราวที่แต่งขึ้นมา แต่ผมไม่อยากสร้างหนังแนวนี้จนกว่าจะรู้สึกว่าสามารถถ่ายทอดความแปลกใหม่ออกมาได้ วิธีที่ง่ายสุดในการอธิบายการเล่าเรื่องของเรา คือเหมือนแนวการปล้นที่เราสร้างไว้ในเรื่อง ‘Inception’ นั่นคือสิ่งที่ ‘Tenet’ พยายามถ่ายทอดออกมาในแนวสายลับ”
เอ็มม่า โธมัส ผู้ร่วมงานกับโนแลนในด้านการผลิตผลงานแอ็คชั่นสุดระทึกขวัญระดับโลกได้เล่าว่า “ ภาพยนตร์เรื่อง ‘Tenet’ มีความท้าทายมาก ฉันคิดว่าเราไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ฉันรู้สึกว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นจากความคิดของคริสในจังหวะเวลาที่เหมาะสม นี่ไม่ใช่แค่หนังที่ต้องใช้ความพยายามสูงที่สุดในแง่การถ่ายทำภาพยนตร์ของคริส แต่รวมถึงด้านการถ่ายทอดเรื่องราวที่ก้าวเกินลิมิตเดิมที่เขาเคยทำมาก่อนด้วย เวลาที่เราดูหนังเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมา จะรู้สึกเหมือนแต่ละเรื่องสร้างขึ้นจากผลงานเรื่องล่าสุด หนังเรื่องนี้เลยเป็นผลงานที่ได้จากประสบการณ์ช่วงหลายปีที่ผ่านมาของพวกเราค่ะ”
โนแลนมีความถนัดเรื่องการเก็บงำรายละเอียดเรื่องราวไว้อย่างมิดชิด ปล่อยให้ผู้ชมได้พบกับจุดพลิกผันของเรื่องราวที่จะเฉลยให้เห็นบนจอภาพยนตร์ ฉะนั้นในการอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เขาได้เปิดเผยอย่างกำกวมว่า “ภาพยนตร์เรื่อง ‘Tenet’ เป็นผลงานระทึกขวัญเกี่ยวกับการจารกรรมของตัวเอกในเรื่อง เขาได้พบสิ่งที่เหนือกว่าเรื่ององค์กรลับซึ่งเรียกมันว่าเทเน็ท ซึ่งตัวละครแนวนี้มักจะถ่ายทอดออกมาให้ดูมีความแข็งแกร่งและทำตัวเด่นเหนือคนอื่น แต่ครั้งนี้จะมีมุมของความคิดถึงผู้อื่นและเสียสละตัวเองเพื่อสิ่งที่ทำ และความคาดหวังของพวกเขาได้สะท้อนถึงเรื่องจริยธรรมในแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องความรับผิดชอบที่มีต่อเพื่อนร่วมงานของพวกเขาด้วย จอห์น เดวิด วอชิงตันและผมต่างรู้สึกว่าเรามีโอกาสที่จะเข้าถึงเรื่องราวแบบนี้มากขึ้น มันเหมือนแรงผลักดันให้เขาทำสิ่งที่ท้าทายมากที่สุด โดยทั้งหมดล้วนเป็นความตั้งใจที่ดี”
วอชิงตันผู้รับบทตัวละครที่รู้แค่เพียงว่าเป็นตัวเอกของเรื่องได้เล่าว่า “ประเด็นหลักของเรื่อง ‘Tenet’ คือเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่พยายามปกป้องโลก” และมีเรื่องราวซับซ้อนที่ต้องเข้าไปสำรวจวเคราะห์กฎที่เราเชื่อมั่นกัน “ภาพยนตร์มีความท้าทายความเข้าใจเรื่องเวลาของเราที่มีมาแต่เดิม ความเข้าใจในสิ่งที่เราคิดว่ามีจริง พฤติกรรมต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้” เขาเล่าต่อว่า “มันมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้น ผมไม่เคยอ่านหรือเจออะไรแบบนี้มาก่อน คนอื่นก็ไม่เคยเจอ คริสเล่นกับความคิดที่เราเข้าใจเรื่องเวลาทางฟิสิกส์ ทุกเรื่องราวสะท้อนผ่านสายตาของตัวละครนี้ ผมไม่รู้ว่าเขาหลงใหลในเรื่องของเวลาตรงไหน แต่ผมรักวิธีการถ่ายทอดเรื่องนี้ออกมาในหนังของเขา”
โธมัสแสดงความเห็นว่าทุกคนได้ร่วมแชร์ความหลงใหลในเรื่องเวลาของโนแลนบางส่วนไปด้วย “พวกเราทุกคนโดนเวลาครอบงำกันไปบ้างทั้งนั้น หรือไม่จริง? มันคือสิ่งที่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ไม่ว่าคุณจะมาจากที่ไหน ไม่ว่าชีวิตของคุณจะเป็นยังไง คุณไม่สามารถทำอะไรกับมันได้เลย มันคือตัวบงการเรา ฉันไม่ได้พูดแทนคริส แต่นั่นคือมุมมองของฉันในเรื่องเวลา มันมีความน่าสนใจเพราะเวลาคือสิ่งที่เป็นสากล และเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความเป็นนามธรรมมาก เด็กจะสัมผัสเรื่องเวลาได้ต่างจากผู้ใหญ่ ฉันรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดอะไรได้อย่างแน่นอน และในช่วงที่เกิดโรคระบาดแบบนี้ ความรับรู้ในเรื่องเวลาของเราต่างไปอย่างสิ้นเชิงเลย… วันนึงยาวนานเหมือนสัปดาห์ และหลายเดือนผ่านไปแล้วเหมือนหลายนาที มันมีความแปลกมาก”
ที่น่าสนใจคือปรากฏว่าแนวคิดเรื่องการย้อนกลับของเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือความเป็นไปได้สำหรับนักฟิสิกส์สมัยใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับกฎของเอ็นโทรปีที่เป็นเรื่องพื้นฐาน กล่าวไว้ว่าทุกสิ่งมีแนวโน้มที่จะเดินไปข้างหน้าอย่างไม่เป็นระเบียบ “ทุกกฎของฟิสิกส์ล้วนมีความสมมาตรกัน มันสามารถเดินไปข้างหน้าหรือย้อนกลับได้ในเวลาเดียวกัน เว้นแต่เองของเอ็นโทรปี” โนแลนอธิบาย “ทฤษฎีกล่าวไว้ว่าหากเราสามารถพลิกทิศทางของเอ็นโทรปีสำหรับวัตถุได้ เราก็สามารถพลิกเวลาของวัตถุนั้นได้เช่นกัน เนื้อเรื่องจึงมีการอิงมาจากฟิสิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือ ผมได้ (นักฟิสิกส์) คิป โธรนมาอ่านบทฯ และช่วยเหลือในเรื่องคอนเซ็ปต์บางส่วน แม้ว่าเราจะทำให้ทุกอย่างตรงตามหัลกวิทยาศาสตร์เลยไม่ได้ แต่ก็มีการอิงจากวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้จริงโดยคร่าวๆ”
โธมัสยอมรับว่าตอนที่เธอได้อ่านบทครั้งแรก “ฉันค่อนข้างกลัวด้วยเรื่องของสเกลค่ะ แต่ภาพโดยรวมมีความแปลกใหม่และน่าสนใจมาก ภาพยนตร์บางเรื่องของคริสค่อนข้างยากที่จะคาดเดาได้ด้วยการอ่านบทในกระดาษ แต่เราจะรู้ว่าทุกอย่างเป็นรูปร่างเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเราได้เห็นภาพนั้นกับตา”
ในความเป็นจริงแล้วโนแลนได้แสดงให้เห็นสื่อกลางที่เป็นภาพในหนังเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะทำให้เรื่องราวสามารถเห็นภาพชัดได้อย่างเป็นเรื่องราว “เรื่องของกล้องคือสิ่งท่ะท้อนถึงเวลาได้อย่างแท้จริง ก่อนจะมีกล้องจับภาพเคลื่อนไหวได้ ทุกคนไม่มีทางนึกถึงเรื่องสโลว์โมชั่นหรือการเคลื่อนไหวถอยหลังได้ออกเลย ฉะนั้นกล้องคือตัวแทนสะท้อนถึงเรื่องเวลาที่ทำให้โปรเจ็กต์นี้เกิดขึ้นได้ มันเป็นโปรเจ็กต์นี้เกิดขึ้นได้เพราะกล้องถ่ายหนังยังมีอยู่แท้ๆ”
แต่อย่างไรก็ตามแค่ความสามารของกล้องก็ยังบรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากพอ ผู้กำกับฯ รู้ดีว่าจินตนาการของเขาต้องอาศัย “ขั้นตอนการทำงานที่ไม่ง่ายเหมือนการพลิกกล้องหรือทำให้ข้าวของย้อนกลับหลังได้ มันมีความสัมพันธ์กันระหว่างทิศทางของเวลากับบรรยากาศรอบตัวที่เราอยู่ ข้าวของต่างๆ เคลื่อนที่รอบตัวเราอย่างไร แม้แต่อากาศที่เราหายใจอยู่ด้วย” เขาอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน “แนวคิดเรื่องการย้อนกลับเป็นเรื่องที่ไม่สมดุลนัก การทำงานเลยมีความซับซ้อนและต้องมีการวางแผนที่ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงเทคนิคต่างๆ ทั้งจากทีมนักแสดงและนักแสดงผาดโผนที่ต้องแสดงฉากต่อสู้ การวิ่ง และการเดินในทิศทางต่างๆ รวมถึงยานพาหนะที่ต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เราถ่ายทำได้ช็อตต่อช็อต ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเทคนิคที่เราใช้นำเสนอภาพอย่างสิ้นเชิง บางสิ่งเราต้องใช้เวลาเรียนรู้นานหลายปี ถ้าเรารวมเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้เราดูมีเทคนิควิธีในการถ่ายทำช็อตต่อช็อตได้ มันก็ยิ่งทำให้ผู้ชมสนใจกับหนังมากขึ้น ยิ่งเป็นการเพิ่มหลุดความสนใจจากหนังได้ เต็มอิ่มกับมันมากขึ้น”

ในการเพิ่มประสบการณ์ให้ผู้ชมภาพยนตร์ได้จุใจมากขึ้น โนแลนเลือกที่จะใช้กล้องไอแมกซ์และฟอร์แมตขนาดใหญ่อีกครั้ง “มาถึงตอนนี้ผมใช้ระบบไอแมกซ์มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว” เขากล่าว “มันทำให้ผู้ชมได้เข้าถึงเรื่องราวอย่างมีพลังขึ้น ด้วยเนื้อเรื่องที่มีทั้งความตื่นเต้นและสนุกสนานอยู่ในเรื่องเดียวกันแบบนี้ เรารู้สึกว่าอยากทำให้ผู้ชมอยู่ท่ามกลางภาพยนตร์ที่โอบล้อมพวกเขาเอาไว้”
เคนเนธ บรานอห์ ผู้รับบทศัตรูร้ายในเรื่อง อังเดร ซาทอร์ เคยร่วมงานกับโนแลนมาก่อนหน้านี้ในเรื่อง “Dunkirk” เขาเล่าว่า “ภาพยนตร์เรื่อง ‘Tenet’ เป็นผลงานแนวทริลเลอร์ที่มีความเสี่ยงสูงจนชวนขนลุกจากผู้สร้างภาพยนตร์คนพิเศษ ผมคิดว่าคริสได้ให้สัญญาไว้กับผู้ชมไว้ 2-3 ข้อ ข้อแรกคือต้องสร้างความบันเทิงให้พวกเขาอย่างเต็มที่ ซึ่งเรื่องนั้นก็ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลย แต่ผมคิดว่าสัญญาอีกข้อหนึ่งคือเรื่องไหวพริบ ความสนใจ และความหลงใหลในตัวของพวกเขา เพราะนี่คือผู้ชายที่จะถ่ายทอดเรื่องราวผ่านกล้อง ผมแทบจะยืนยันความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นได้เลยว่ามันจะน่าตื่นเต้นขนาดไหนถ้าดูในห้องมืดๆ มีภาพขนาดใหญ่ มีเรื่องราวที่ให้กำลังใจและมีความเหมาะสม พร้อมกับการที่มีเอ็มม่า คู่หูผู้อำนวยการสร้างที่มีความชำนาญมาก พวกเขารู้ดีว่าจะสร้างหนังที่ต้องใช้ความพยายามสูงมากให้สำเร็จได้อย่างไร”
“จะไม่ใช่หนังของคริส โนแลนไม่ได้เลย” เพื่อนนักแสดงอย่างโรเบิร์ต แพททินสัน ผู้รับบท นีล ที่ร่วมทีมกับพระเอกในเรื่องกล่าว “หนังทุกเรื่องของเขาจะมีความพิเศษ และการสร้างหนังเรื่องนี้ก็ถือเป็นความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาอีกเรื่องในทุกด้าน มันน่าทึ่งมากครับ… ไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้เลย”
การถ่ายทำเรื่อง “Tenet” ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ นักแสดง และทีมงานต้องเดินทางไปหลายประเทศ เช่น เอสโทเนีย อิตาลี อินเดีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ โนแลนได้เล่าว่าธรรมชาติจากทั่วโลกที่ใช้ถ่ายทำเหมาะสมกับเนื้อเรื่องมาก “องค์ประกอบที่ได้จากทั่วโลกในเรื่อง ‘Tenet’ มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นเรื่องราวของการคุกคามที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อหาทางอยู่รอดและความเสี่ยงต่างๆ คือส่วนประกอบในเรื่อง ผมคิดว่าการได้บรรยากาศจากทั่วโลกมีส่วนสำคัญต่อภาพยนตร์ในแง่ของการสร้างขอบเขตและความยิ่งใหญ่ของเรื่องขึ้นมา”
ฉากต่างๆ ก็มีความสำคัญต่อผู้กำกับฯ ที่เน้นเรื่องการถ่ายทำจริงบนหน้าจอ เลี่ยงการใช้กรีนสกรีน และเลือกที่จะใช้สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์มากกว่าวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ เขาเล่าว่า “ผมชอบเส้นกั้นบางๆ ระหว่างการถ่ายภาพนักแสดง บรรยากาศที่พวกเขาอยู่ตรงนั้น และองค์ประกอบต่างๆ ในเรื่องที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นฉากเครื่องบินชนตึกหรือความรู้สึกของเวลาที่ผิดเพี้ยนไป ถ้าไม่มีการแบ่งแยกระหว่างเรื่องเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นกับตัวนักแสดง ผมเชื่อว่าคุณจะเข้าถึงโทนเรื่องมากขึ้น และจะทำให้ผู้ชมเต็มอิ่มไปกับเรื่องราวยิ่งขึ้น”
การทำงานของโนแลนยังเน้นให้นักแสดงมีส่วนร่วมมากขึ้นด้วย เอลิซาเบธ เดบิคกี้ ผู้รับบท แคท ภรรยาของซาทอร์ที่ไม่ค่อยถูกคอกันได้เล่าว่า “มันถือเป็นพรจากสวรรค์สำหรับนักแสดงคนหนึ่ง เวลาที่เราได้เห็นว่าเรากำลังจะเดินเข้าไปที่ไหนและกำลังอยู่ที่ไหน มันมีหลายช่วงที่ฉันคิดว่าทำไมที่นั่นดูน่าทึ่งขนาดนั้น และฉันคิดว่ามันช่วยฉันได้มากเลยค่ะ มันจะดีแค่ไหนหากเราสัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนรอบตัวเรา หรือรู้สึกว่ามีเรืออยู่ข้างใต้เรา? เมื่อหน้าที่ของเราคือการแสดง เรายิ่งต้องการความสมจริงในการแสดง มันเลยเป็นสิ่งที่มีค่ามากค่ะ”
“ตอนนี้เท่ากับผมผ่านการสร้างหนังมาอย่างยาวนานแลว และผมระมัดระวังเรื่องสื่อกลางที่ผมใช้ในการทำงานมาก” โนแลนกล่าว “มันคือสิ่งที่กระตุ้นผมและมีผลต่อการสร้างสรรค์ที่มีความเป็นไปได้ในทุกด้าน ทั้งตอนที่ผมเขียนบท ตอนที่ผมคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ตอนที่ผมกำลังคัดเลือกตัวนักแสดง… ทุกอย่างคือประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่เราตั้งใจมอบให้ผู้ชม ทุกการตัดสินใจเกิดจากความคิดที่เห็นผู้ชมมารวมตัวกันในโรงภาพยนตร์เพื่อดูหนังบนจอยักษ์ มันมีผลต่อทุกการตัดสินใจและทุกสิ่งที่เราทำทั้งนั้น”
“การถ่ายทำมีความท้าทายอย่างไม่มีข้อสงสัยเลย” โธมัสยืนยัน “แต่เราอยู่ท่ามกลางคนที่มีความชำนาญในวงการ และรู้สึกดีมากที่มีคนเก่งๆ คอยช่วยเหลือเราถ่ายทอดเรื่องราว ทำให้ตัวละครต่างๆ มีชีวิตขึ้นมาได้”
ทีมนักแสดง

ในการคัดเลือกตัวนักแสดงหลักที่มารับบทพระเอก โนแลนได้เล่าว่า “เราต้องการนักแสดงที่กุมความสนใจบนหน้าจอได้อย่างอยู่หมัด สำหรับผมแล้วช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการเข้าใจ ‘Tenet’ คือตอนฉาย ‘BlacKkKlansman’ ครั้งแรกของโลกในงาน Cannes Film Festival ผมไม่ได้ทึ่งกับหนังเพียงอย่างเดียว แต่พอได้เห็นจอห์น เดวิด วอชิงตันแล้ว ผมรู้สึกหลงในเสน่ห์ที่มีในตัวเขา ซึ่งมันเห็นได้ชัดบนหน้าจอ และมันทำให้ผมรู้สึกมั่นใจมากว่าเขาจะดึงความสนใจได้”
วอชิงตันเล่าถึงสิ่งแรกที่ทำให้เขาสนใจในเรื่อง “Tenet” คือการที่มันสรุปทุกอย่างได้ในคำเดียว “มันคือความเป็นคริสโตเฟอร์ โนแลน ผมดูหนังของเขาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าเขาอยากให้ผมทำอะไร ผมพร้อมที่จะทำให้เลย เขาเป็นคนที่มีความสร้างสรรค์และเล่าเรื่องราวในหนังได้ด้วยการรวมคอนเซ็ปต์ต่างๆ เข้าด้วยกัน สร้างโลกที่ไม่มีใครเหมือนแบบนี้ขึ้นมาได้ คุณจะหลงใหลกับสิ่งที่ได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นฉากแอ็คชั่น ความฉลาดที่รวมไว้เป็นองค์ประกอบในเรื่อง เพลงประกอบภาพยนตร์.. แต่ประเด็นสำคัญคือการสื่อสารกับมนุษย์ และการสำรวจสภาพแวดล้อมรวมตัวมนุษย์ ความต้องการมิตรภาพ และอารมณ์ต่างๆ ที่เราได้พบ มันคือตัวละครที่ผมทุ่มเทสุดตัวเลย”
นักแสดงชายยังเล่าอีกว่า “ตอนที่ได้อ่านบทสิ่งที่ได้ใจผมทันทีคือพระเอกก็เหมือนกับผู้ชมคนหนึ่งในหลากหลายด้าน การผจญภัยที่เขากำลังเผชิญคือสิ่งเดียวกับที่ผู้ชมกำลังจะเผชิญด้วย”
“จอห์น เดวิดเป็นคนที่มีความอบอุ่นและใจดีมากครับ” โนแลนกล่าว “แต่มันอยู่ที่เขาทำอะไรได้บ้างในฐานะของนักแสดงมากกว่า เขามีความสามารถหลากหลาย เขามีความเข้มแข็ง และเขาสามารถเข้าถึงการแสดงได้มากขนาดไหน มีทั้งการวิเคราะห์และความเข้าใจในบทภาพยนตร์ การอ่านบทของเขามีความถูกต้องและตรงตามจังหวะสอดคล้องกับสิ่งที่ผมรู้สึกว่าเรากำลังมองหา ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ของตัวละครที่เป็นสายลบ มีความโดดเด่น ต้องเดินทางทั่วโลกเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะที่จะทำลายทุกคนและทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเขา ผมคิดว่าเขามีความเข้าใจที่ชัดเจนมากตั้งแต่แรกเริ่มเลยครับ”
“นี่คือผู้ชายที่พร้อมจะเสี่ยงตาย ไม่ใช่แค่เพื่อภารกิจ แต่เพื่อคนที่เขาพร้อมยอมสู้ด้วย และผมรักตรงประเด็นนั้น” วอชิงตันกล่าว “ผมคิดว่ามันสื่อชัดเจนว่าเขาเป็นคนแบบไหน ตลอดทั้งเรื่องเขามองความตายไม่เหมือนกันเลยสักครั้ง ผมคิดว่าสิ่งที่เขาได้พบเจอ ด้วยกฎของเวลาที่ต่างกันไป เขาสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ และอาจปกป้องโลกได้ในอีกวิธีหนึ่ง หรือบางทีอะไรจะเกิดก็คงต้องเกิด แต่ผมเชื่อว่ามุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ มุมมองที่มีต่อตัวเองมันจะเปลี่ยนไปตลอดการเมื่อรู้ว่านี่คือเรื่องที่เป็นไปได้”
พระเอกจะมีคู่หูคนหนึ่งที่มาช่วยเขาทำภารกิจคือนีล โธมัสเล่าว่า “โรเบิร์ต แพททินสันถ่ายทอดความสดใสสู่ภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาก เราเคยเห็นและพบกับความสนุกจากผลงานของเขามานานหลายปี แต่หนังเรื่องล่าสุดของเขาได้เปิดมุมมองของเราต่างออกไป และดึงดูดความสนใจจากเราได้มาก มันน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นว่าเขามีวิธีสวมบทบาทอย่างไร เรารู้สึกตื่นเต้นที่เขาตอบรับมาร่วมงานในหนังเรื่องนี้ เขาเป็นนักแสดงที่น่าทึ่งมากค่ะ”
เรื่องราวในอดีตและความเกี่ยวข้องของนีลที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปิดเผยได้ ประเด็นนั้นทำแพททินสันเกิดความสนใจตัวละครนี้มาก “ผมสนใจมิตรภาพระหว่างนีลกับตัวละครของจอห์น เดวิดขึ้นมาทันที” เขายืนยัน “เขาเป็นเพื่อนหรือศัตรูกัน? เราตัดสินใจจากอะไรเวลาที่จะไว้ใจใครสักคนหรือสงสัยใครสักคน? จะรู้ได้ยังไงว่าเชื่อสัญชาตญาณตัวเองได้? เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องซับซ้อนที่เกิดขึ้นบนโลก แต่ผมอยากเห็นว่าเรื่องพวกนี้จะซับซ้อนขึ้นไปอีกได้อย่างไร เมื่อกฎต่างๆ ที่รู้กันว่าเป็นความจริงได้เปลี่ยนไปและสวนทิศทางกัน สิ่งต่างๆ ในตัวมนุษย์จะเปลี่ยนไปหรือยิ่งรู้ว่าควรถอยห่างจากตัวละครต่างๆ? นีลมีทักษะความรู้ ประสบการณ์ และไหวพริบหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหน เราต้องเชื่อมั่นในอะไรบางอย่างมากกว่าตัวเอง ข้ามผ่านความเชื่อ และสิ่งที่น่าสนใจกว่าการข้ามผ่านความเชื่อคือตอนที่เราไม่รู้ว่าสิ่งที่เราเชื่อหรือสิ่งที่เราทำอยู่มันถูกหรือผิด ผมชอบตรงนั้นละครับ”
สำหรับนักแสดงทั้งสองคน การมาร่วมงานกันในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่องแรกของทั้งคู่ ความไว้ใจจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล “เจดีเป็นคนที่มีฝีมือมากครับ” แพททินสันกล่าว “ถือว่าเป็นการถ่ายทำที่ท้าทาย เขามักจะใส่พลังลงไปอย่างล้นเหลือและมองแง่บวกตลอด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากครับ”
“ผมรักวิธีการทำงานของร็อบ” วอชิงตันกล่าว “เวลาส่วนใญ่เราไม่ค่อยคุยกันว่าจะทำอะไร เรามักจะปล่อยให้อะไรๆ เกิดขึ้น ทุกอย่างมีการคำนวณออกมาแล้ว และปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปหรือสร้างความเซอร์ไพรส์ให้เกิดขึ้นในแต่ละวัน ยอมรับอย่างเปิดใจกว้างและเดินหน้าไปกับมัน”
บุคคลสำคัญในภารกิจของพระเอกคือ อังเดร ซาทอร์ ชาวรัสเซียผู้มีอำนาจรายหนึ่ง “แน่นอนว่าเราต้องมีศัตรู” เคนเนธ บรานอห์ ผู้รับบทนั้นออกความเห็น “ตอนที่คริสกับผมพูดถึงเรื่องเขา เขาบอกผมว่าตัวละครนี้มีความชั่วร้ายอย่างที่ควรจะเป็น ‘เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ดูน่าตกใจ’ นั่นคือตัวตนของเขา แต่สิ่งที่เขาเขียนเอาไว้ได้บอกว่าเขาเป็นคนที่ผ่านความรุนแรงและเรื่องบอบช้ำมาบ้าง คุณไม่จำเป็นต้องเห็นใจซาทอร์หรอก แต่คุณอาจเข้าใจว่าทำไมเขาถึงต่อต้านการต่อรองแบบเฟาสต์
“เนื้อเรื่องโดยธรรมชาติแล้วเกี่ยวกับความซับซ้อนที่อยู่ในตัวคน จากมุมมองของผมเริ่มจากซาทอร์เลย” นักแสดงเล่าต่อว่า “เขาเป็นคนที่โหดเหี้ยมและนึกถึงตัวเองเป็นหลัก แถมยังเป็นตัวละครที่มีความน่ากลัวมากด้วย เช่น เขามีความพยายามในการทำให้ภารกิจสำเร็จ ฉะนั้นเขาคือคนที่เราทุกคนควรหวาดกลัว เขามีความฉลาดที่น่ากลัว กล้าเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ และพร้อมรับความเสี่ยงในประเด็นสำคัญของเรื่อง จนทำให้ตัวละครอื่นๆ มารวมตัวกันและทำให้โลกของเราอยู่บนความเสี่ยง”
โธมัสได้เล่าว่า “ฉันคิดว่าเค็นตื่นเต้นกับความท้าทายในการรับบทที่ไม่เหมือนกับที่เขาเคยเล่นมาก่อน ฉันเคยเห็นเขารับบทคนร้ายมาแล้ว แต่ไม่เหมือนกับครั้งนี้ที่ดูเป็นผู้ชายน่ากลัวและโหดเหี้ยมมาก แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความน่าประทับใจในการแสดงของเค็น เขามีทั้งความอ่อนหวานและเสน่ห์ที่เราหวังว่าจะโชคดีได้เห็นสิ่งนั้น มันเหลือเชื่อมากค่ะที่ได้พูดคุยกับเขาอย่างเป็นกันเองในฉาก จากนั้นได้เห็นเขากลายเป็นปีศาจเพียงเสี้ยวพริบตา และเขาก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริง”
ซาทอร์แต่งงานกับผู้หญิงที่ชื่อ แคท รับบทโดยเอลิซาเบธ เดบิคกี้ ตอนแรกที่เธออ่านบทก็รู้สึกแปลกใจทันที “ทำไมเธอถึงมาคบคนแบบนี้นะ? พื้นฐานของมิตรภาพครั้งนี้คืออะไร? สำหรับฉันแล้วสิ่งที่โดดเด่นในตัวแคทคือความรู้สึกว่าผู้หญิงคนนี้ต้องปิดซ่อนตัวเองเพื่อความอยู่รอด เธอมีทั้งเรื่องที่อายและสับสน ขณะเดียวกันก็ต้องคอยประคองตัวให้รอดตลอดเวลา สิ่งที่เธอถามตัวเองตลอดคือ ‘ฉันพาตัวเองมาอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายแบบนี้ได้อย่างไร? ฉันมาอยู่จุดนี้ได้อย่างไร?’ แม้เธอจะหลีกนีไม่ได้ แต่เธอก็อดทนเพื่อให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูก เธอไม่เคยปล่อยให้ตัวเองเป็นเหยื่อในการต้องรับผิดชอบจากการอยู่ร่วมกับซาทอร์เลย และนั่นคือสิ่งที่เธอต้องต่อสู้ในหนังตลอด มันเป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้ความอดทนในการเขียนกลั่นลงไปในตัวละครนี้”
โธมัสเปิดเผยว่าบทของแคททำให้นึกถึงเดบิคกี้ “แต่เดิมทีบทนั้นถูกเขียนไว้ว่ามีอายุหน่อย แต่ผมเคยดูเธอจากเรื่อง ‘Widows’ และตกใจกับการแสดงของเธอในเรื่องนั้น ผมขอให้คริสสังเกตเธอในเรื่องนั้นเป็นพิเศษและเขาก็เห็นด้วยแคทเลยถูกเขียนขึ้นมาใหม่โดยมีเอลิซาเบธอยู่ในความคิด และเธอก็แสดงได้อย่างยอดเยี่ยมมาก”
“ฉันรู้สึกว่าในบทคริสเขียนให้เธอดูเป็นผู้หญิงที่มีความเข้มแข็งมาก และจุดเด่นของเธอคือเรื่องไหวพริบความฉลาด แคทเป็นคนที่มีไหวพริบด้านการเจรจาต่อรอง แธอใช้ความฉลาดที่มีพลิกสถานการณ์ได้ในยามต้องการ เธอดูมีสัญชาตญาณในเรื่องนั้น เธออ่านทุกอย่างได้จากการเต้นของหัวใจ และเธอชอบที่จะเป็นฝ่ายเดินหน้าในเกม นั่นเป็นวิธีเอาตัวรอดของเธอที่ใช้มาตลอดค่ะ” เดบิคกี้กล่าว “และเธอก็มีมุกตลกร้ายอยู่ในตัว คริสจะชอบเรียกว่ามุกเชือดเฉือน ซึ่งเป็นอะไรที่ฉันชอบมาก เวลาที่เราได้บทที่มีความคิดลึกซึ้งและน่าสนใจอย่างแคท ได้ร่วมงานกับคนที่ไม่ธรรมดาอย่างคริส โนแลน เราแทบยอมทำทุกอย่างเลยค่ะ มีเหตุผลไหนจะไม่ยอมล่ะ? ไม่มีใครกำกับแนวทางได้อย่างที่คริสทำ เขาสร้างเรื่องราวการหาทางรอดชีวิตที่มีความยิ่งใหญ่ และมีเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์แฝงในเรื่องภัยคุกคาม ความสร้างสรรค์ที่มารวมกันได้แบบนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เหมือนหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นมาเพื่อฉันเลยค่ะ”
เธอยังเล่าอีกว่าหนึ่งในข้อดีนั้นคือการได้แสดงคู่กับบรานอห์ “ถือว่าเป็นเรื่องวิเศษมากที่ได้ร่วมงานคู่กับเค็นค่ะ เขาเป็นนอกแสดงที่มีฝีมือมาก แถมยังเป็นคนน่ารักและมีอารมณ์ขัน เราได้เดินทางไปยังสถานที่ลึกลับหลายแห่งผ่านตัวละครของเรา ฉันเลยรู้สึกดีมากที่มีเค็นร่วมฉากด้วย ฉันรู้สึกว่าเราต่างเข้าใจจินตนาการที่มีความจริงจัง และถ่ายทอดมิตรภาพของทั้งสองตัวละครนี้ออกมาทางหน้าจอได้ค่ะ”
บรานอห์เองก็รู้สึกชื่นชมไม่แพ้กัน “ผมมีความสุขที่ได้ร่วมงานกับเอลิซาเบธครับ” เขากล่าว “เธอเป็นคนที่ควบคุมตัวเองได้ดีเกินอายุ แต่ยังคงมีความร่าเริงและน่ารักอยู่ในตัว เธอได้มอบการแสดงที่ชวนหลงใหลออกมาได้”
นักแสดงยอดฝีมือชาวอินเดีย ดิมเพิล คาพาเดีย ได้ร่วมงานกับทีมนักแสดงในบท ไปรยา ผู้หญิงที่ใช้ชีวิตในมุมไบ และเป็นผู้กุมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับซาทอร์ “ฉันรู้สึกดีใจมากค่ะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ มันเหมือนได้เป็นซินเดอเรลลาในโลกฮอลลีวูดเลย” เธอกล่าว “ตอนที่อ่านบทฉันรู้สึกลืมไม่ลงเลยค่ะ มันคือความตื่นเต้นแบบโนแลนและฉันคิดว่ามันเป็นอะไรที่พิเศษสุด”
เพื่อนนักแสดงอย่างอารอน เทย์เลอร์-จอห์นสันก็เห็นด้วยว่า “คริสได้สร้างโลกต่างๆ ขึ้นมาในหนังไซไฟ แต่ทุกอย่างล้วนอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง ทุกอย่างดูเป็นไปได้และเข้าใจได้ และเราจะรู้สึกเห็นใจตัวละครต่างๆ ที่อยู่ในโลกใบนั้น”
เทย์เลอร์-จอห์นสันมารับบท ไอฟ์ส ตัวละครที่เขาบรรยายไว้ว่า “เป็นผู้ชำนาญการทางทหารฝ่ายตรงกันข้าม และเป็นหัวหน้าทีมภารกิจของพระเอก ผมโชคดีมากที่มีเวลาร่วมกับที่ปรึกษาทางกองทัพช่วงเตรียมตัว เวลาที่เราต้องรับบทใดก็ตาม เราอยากแสดงออกมาให้ดูสมจริงมากที่สุด และหน้าที่ของผมคือต้งเตรียมเครื่องมือทุกอย่างให้พร้อมสำหรับผู้กำกับฯ เรียกใช้งาน”
ทีมนักแสดงหลักของเรื่อง “Tenet” ยังรวมถึงมาร์ติน โดโนแวน, ฟิโอน่า ดูริฟ, ยูริ โคโลโคลนิคอฟ, ไฮเมช พาเทล, เคลเมนซ์ โพซี่ และนักแสดงในตำนานที่โธมัสเรียกว่าเป็นเครื่องรางนำโชคของพวกเขาคือไมเคิล เคน “นี่จะเป็นหนังของคริส โนแลนไม่ได้เลยหากไม่มีไมเคิล เคน” โธมัสยิ้ม “เราทั้งโชคดีและรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้ร่วมงานกับเขาตั้งแต่แรกเริ่ม”
ขณะที่การฝึกซ้อมสำหรับภาพยนตร์ของนักแสดงไม่ใช่เรื่องแปลก การฝึกซ้อมสำหรับกฎระเบียบต่างๆ ของ “Tenet” ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเช่นกัน โนแลนเล่าว่า “ความน่าสนุกของ ‘Tenet’ อยู่ที่มีการสมมุติว่าเราสามารถเรียนรู้กฎต่างๆ ทางความคิด จากนั้นสามารถจินตนาการเห็นภาพสิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้ แต่นั่นยังไม่ผ่านการตรวจสอบ เราต้องวางเค้าโครงสิ่งต่างๆ ขึ้นมาและตรวจสอบว่าขัดแย้งกับกฎต่างๆ มั้ย ฉะนั้นทุกคนต้องมีความระมัดระวังมาก มันไม่ใช่สิ่งที่เราจะหยิบยกขึ้นมาเองได้โดยใช้เพียงสัญชาตญาณ มันต้องมีการฝึกซ้อมจนได้ผลดี หมายความว่าทั้งนักแสดงและทีมนักแสดงผาดโผนต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์ต่างๆ เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องมีการพัฒนาขั้นตอนต่างๆ เพื่อเช็คตัวเองและเช็คตรรกะในสิ่งที่กำลังทำยู่ด้วย”
“มันเป็นการซ้อมการแสดงผาดโผนที่แหวกแนวมาก” วอชิงตันยืนยัน “มันเป็นการฝึกซ้อมวนไปเรื่อยๆ จนผมเลิกคิดถึงมัน และลงมือทำได้โดยอัตโนมัติ ผมรู้ว่าร่างกายตัวเองทำได้ แต่ต้องอาศัยการทำซ้ำหลายวันไปเรื่อยๆ ผมดึงทักษะทางการกีฬาของตัวเองมาใช้เยอะกว่าโปรเจ็กต์อื่นที่ผ่านมาเลย แถมยังต้องมีการฝึกฝนทางจิตใจอีกด้วย การฝึกซ้อมทางร่างกายทำให้ผมได้ข้อมูลหลายอย่างว่าพระเอกของเรื่องเป็นแบบไหน ฉะนั้นการสร้างตัวละครขึ้นมาจากรูปลักษณ์ภายนอกมันช่วยผมได้มากเลยในเรื่องนี้”
ทีมนักแสดงผาดโผนเองก็มีหน้าที่ฝึกสอนทีมนักแสดง แต่ขั้นแรกพวกเขาก็ต้องมีความชำนาญด้านการเคลื่อนไหวของตัวเองก่อน ผู้ควบคุมด้านการแสดงผาดโผน จอร์จ คอทเทิล ได้เล่าว่า “มีการทดลองและล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง มีทั้งขั้นตอนที่ยุ่งยากแต่ก็สร้างความน่าหลงใหลได้ในเวลาเดียวกัน จอห์น เดวิดได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง จนไม่มีอะไรให้เขาต้องพัฒนาไปมากกว่านั้นอีกแล้ว ความทุ่มเทของเขามันเหลือเชื่อมาก และผมคิดว่าจะเห็นได้ชัดบนหน้าจอ”
“สำหรับผมแล้วน่าตื่นเต้นเพราะจอร์จและทุกคนพูดว่าไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อนเลย ทั้งที่พวกเขาเห็นทุกอย่างและผ่านอะไรมามาก” วอชิงตันกล่าว “ถือเป็นข้อดีที่ทั้งทีมได้รับจากการมีเวลาฝึกซ้อม เพราะเราต้องแสดงให้คล่องแคล่วและถูกจังหวะ”
ไม่มีอะไรที่โนแลนจะประทับใจในเรื่องความสามารถทางด้านร่างกายหรือความรับผิดชอบในหน้าที่ของเขาไปได้มากกว่านี้แล้ว “แค่ความต้องการพื้นฐานของหนังแอ็คชั่นสายลับ บทบาทของจอห์น เดวิดก็ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงอยู่แล้ว พอเราเพิ่มเรื่องของการย้อนกลับเป็นเรื่งหลัก เขาก็ยิ่งมีข้อกำหนดมากขึ้นไปอีก ถ้าเราไม่มีนักแสดงที่มีทักษะและพลังขนาดนี้ หลายอย่างคงไม่สามารถแสดงต่อหน้ากล้องได้ นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึกเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับจอห์น เดวิด แต่ก็รวมถึงร็อบ แพททินสัน และ เค็น บรานอห์ด้วย ยิ่งพวกเขาสวมวิญญาณเข้าไปในสิ่งที่บทบาทของพวกเขาต้องการ เราก็ยิ่งถ่ายทำจริงหน้ากล้องได้มากขึ้น และได้รายละเอียดทุกอย่างเต็มที่”
ไทม์โซน
เป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้วทีคริสโตเฟอร์ โนแลนใช้กล้องไอแมกซ์ถ่ายทำหนังฟอร์มยักษ์เป็นครั้งแรก และเขายังสร้างสถิติใหม่ของกล้องฟอร์แมตขนาดใหญ่ด้วย โนแลนและตากล้องฮอยต์ แวน ฮอยทีมาถ่ายทำฉากแอ็คชั่นส่วนใหญ่ของเรื่อง “Tenet” ด้วยกล้องไอแมกซ์ โดยมีการนำกล้องมาใช้มากกว่าการถ่ายทำที่ผ่านมา และแวน ฮอยทีมาคาดว่าน่าจะมากกว่าที่มีใครเคยใช้ “เราใชฟิล์มไอแมกซ์ถ่ายทำราว 1.6 ล้านฟีต ซึ่งเป็นการทำลายสถิติของเราเอง ผมพูดได้อย่างไม่เต็มปาก แต่คงรู้สึกเซอร์ไพรส์หากมีหนังเรื่องไหนที่ถ่ายทำได้มากกว่านั้น”
โนแลนเล่าเสริมว่า “เราพัฒนาแนวการทำงานของเรากับพาร์ทเนอร์ของเราที่ IMAX และ Panavision เพื่อทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและได้ประโยชน์หลายอย่างมากขึ้น ฮอยท์ละทีมงานของเขาสามารถใช้กล้องพวกนี้ในทุกสถานที่เพื่อหนังเรื่องนี้ เราสามารถเอากล้องเข้าไปอยู่ในสภาพที่แคบมากๆ ได้ เพียงแค่ถอดด้านหลังกล้อง และใช้วิธีควบคุมตรงหัวกล้อง ซึ่งมีความแข็งแรงพอที่จะแบกกล้องไอแมกซ์ได้ แต่ก็เล็กมากพอที่จะเข้าไปในสถานที่บางแห่งอย่างในรถ เพื่อให้เราจับภาพการแสดงในนั้นได้ ฮอยท์เข้าใจดีว่าผมอยากอยู่ตรงนั้นพร้อมกับตัวละครเสมอ เพราะเขามีแนวคิดตามหลักวิศวกรรมที่น่าทึ่งมาก รวมถึงยังมีมุมมองด้านการถ่ายภาพที่ดีเยี่ยม เขาพยายามหาทางทำลายเส้นกั้นระหว่างมุมที่กล้องสามารถเข้าได้ถึงกับตำแหน่งของตัวละครในฉากเสมอ”
นอกจากเรื่องการใช้กล้องไอแมกซ์แนวใหม่แล้ว ความโดดเด่นของเรื่องยังอยู่ที่การใช้เทคโนโลยีของไอแมกซ์ด้วย แวน ฮอยทีมาเล่ารายละเอียดว่า “ความท้าทายด้านเทคนิคที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง คืเรายากให้กล้องแมกซ์สามารถถ่ายย้อนกลับได้ ซึ่งตามหลักฟิสิกส์แล้วจะไม่สามารถทำได้ถ้าฟิล์มทำได้แค่เดินหน้าเพียงอย่างเดียว กล้องไอแมกซ์มีมอเตอร์ที่ทรงพลังมาก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความแม่นยำสูงมากด้วย และมันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อถ่ายถอยหลัง ไอแมกซ์มีประโยชน์ช่วยได้มากเลยครับ การทำงานของเราในโปรเจ็กต์ใหม่นี้ต้องมีการสร้างกลไกขึ้นมาใหม่ และปรับวงจรอิเล็คทรอนิคส์เพื่ให้เราสามารถถ่ายทำได้ทั้งสองรูปแบบ”
กล้องไอแมกซ์มีข้อเสียเปรียบเพียงเรื่องเดียว คือมันมีเสียงดังกว่ากล้องธรรมดา แต่กล้อรุ่นใหม่จะมีสิ่งที่เรียกว่าบลิมส์เป็นตัวลดเสียงกล้องไอแมกซ์ ทำให้แวน ฮยทีมาสามารถใช้กล้องได้เต็มที่มากกว่าแต่ก่อน แต่เขาก็ยอมรับว่า “มีบางช่วงที่เราไม่สามารถใช้กล้องไอแมกซ์ได้ เราเลยต้องกลับไปหากล้อง 65 มม.”
ทีมนักแสดงรู้สึกประทับใจกับความชำนาญของฮอยทีมาเมื่อต้องใช้กล้องไอแมกซ์ขนาดใหญ่เหมือนกล้องแฮนด์เฮลด์ตัวหนึง “ต้องยกเครดิตให้เขาเลย” วอชิงตันยอมรับ “กล้องพวกนั้นน้ำหนักไม่ใช่น้อยและเขาก็อยู่ท่ามกลางฉากแอ็คชั่นตรงเวลาเสมอ เขากับคริสไม่เคยได้นั่งเลยจนผมคิดว่า ‘เราจะเหนื่อยไม่ได้ นั่งไม่ได้ถ้าพวกเขายังไม่ได้นั่ง’ มันเหมือนโรคติดต่อกันได้เลยครับ ช่วยอะไรไม่ได้นอกจากเดินหน้าต่อและทุ่มสุดความสามารถของเรา”
“คริสเป็นคนนึงที่มีสุขภาพร่างกายดีอย่างน่าทึ่งมากเท่าที่ผมเคยเห็นมา เหมือนเขามีชีวิตอยู่ได้ด้วยเอิร์ลเกรย์” แพททินสันเห็นด้วยพร้อมหัวเราะออกมา “เขาเป็นคนที่มีความแข็งแกร่งมาก”
นักแสดงเองก็รู้สึกพอใจกับการถ่ายทำจริงบนหน้าจอให้ได้มากที่สุดของผู้กำกับฯ “มันทำให้เรารู้สึกตื่นตัว มันทำให้เรามีชีวิตชีวา ได้รู้ว่าเรากำลังเล่นกับอะไรอยู่” วอชิงตันยืนยัน “การได้อยู่ตรงนั้นแล้วเห็นทุกอย่างชัดเจนมันช่วยการแสดงของผมมากครับ การเห็นทุกอย่างในฉากและจับต้องได้จริงมันช่วยทำให้ผมแสดงได้อย่างเต็มที่เลย”
ขณะที่แวน ฮอยทีมาเองก็ได้ร่วมแชร์ความเชื่อนั้น เขายอมรับว่ามันมีการเรียนรู้ในโปรเจ็กต์นี้ที่เกิดขึ้นต่างกันไป “ผมเชื่อในแนวทางของคริสมาก และผมก็เชื่อว่ามันเชื่อมโยงเราเข้าถึงความสมจริง ผู้ชมจะสัมผัสมันได้จากความรู้สึกลึกๆ แก็มีหลายช่วงที่ผมสงสัยว่าเราจะถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาบนโลกได้อย่างไร ซึ่งนั่นทำให้ทุกอย่างดูน่าพอใจยิ่งขึ้นเมื่อเราสร้างผลงานออกมา ทุกวันมักจะมีอะไรบางอย่างที่ผมไม่เคยทำมาก่อน และทำให้ผมได้เรียนรู้ ทุกวันเราจะได้ยกมาตรฐานตัวเองให้สูงขึ้น นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจนรู้ตัวว่าเรากลายเป็นคนที่กระตือรือร้นมากขึ้นในสิ่งที่เราได้เรียนรู้”
นอกจากการได้กลับมาร่วมงานกับฮอยทีมาแล้ว โนแลนยังได้กลับมาร่วมงานอีกครั้งกับผู้ออกแบบฉาก นาธาน โครว์ลีย์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เจฟฟรีย์ เคอร์แลนด์ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ แอนดรูว์ แจ็คสัน และผู้ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ สก็อตต์ ฟิชเชอร์ ภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” ยังเป็นการร่วมงานครั้งแรกกับผู้ลำดับภาพเจนนิเฟอร์ เลม และผู้ประพันธ์ดนตรีลุดวิก โกแรงสัน

“ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ทุกทีมที่เรานำมารวมตัวกัน เราต่างมองหาประสบการณ์ที่จะมาสร้างความสมดุลและมุมมองที่แปลกใหม่มาผสมรวมกัน” ผู้กำกับฯ กล่าว “เราได้รับแรงกระตุ้นจากคนที่รู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่และความตื่นเต้นไปกับทุกอย่าง”
การถ่ายทำเรื่อง “Tenet” ทำให้โนแลนและกองถ่ายต้องเดินทางไปยัง 7 ประเทศใน 3 ทวีป ตั้งแต่สหรัฐฯ ไปจนถึงสหราชอาณาจักร จากเอสโทเนียในยุโรปทางตอนเหนือไปจนถึงอมัลฟีโคสต์ ประเทศอิตาลี และจากประเทศอินเดียไปจนถึงประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอย่างเดนมาร์กและนอร์เวย์
เอสโตเนีย:
ฉากแอ็คชั่นในเรื่อง “Tenet” ช่วงแรกที่มีทีมติดอาวุธขนาดใหญ่กระหน่ำโอเปร่าเฮาส์ที่เคียฟ ฉากนั้นมีการถ่ายทำที่ทาลินน์ ประเทศเอสโตเนีย ในลินนาฮอล ซึ่งเป็นสถานที่ๆ มีการก่อสร้างขึ้นมาสำหรับงาน Moscow Olympics ปี 1980 ตอนที่เอสโตเนียเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต นาธาน โครว์ลีย์ได้เล่าว่า “ผมคิดว่านี่เป็นหนึ่งในตึกที่ผมชอบมากตั้งแต่ถ่ายทำกันมา มันมองลงไปเห็นทะเลบอลติกและสถาปัตยกรรมที่เป็นการผสมผสานระหว่างบรูทาลิซึมและมายัน มันมีความยิ่งใหญ่และยังสง่างามอยู่ แน่นอนว่าทุกอย่างตรงใจคริสและผม มันเหมือนกับภาพในหนังเลยครับ”
แม้ว่าจะมีความสง่างามแต่โครว์ลีย์ได้เล่าว่า “พวกเขาไม่ได้ดูแลรักษาตัวอาคารเลย มันถูกทิ้งร้างเอาไว้นานนับ 10 ปี ที่นั่งอยู่ในสภาพชำรุด พรมทั้งหมดอยู่ในสภาพหลุดลอกหายไป ตัวคอนกรีตเกิดความเสียหายเยอะมาก มีการพ่นลายกราฟฟิตี้และเศษกระจกแตกอยู่ทั่วทุกแห่ง ไฟทุกดวงใช้งานไม่ได้เลย การทำให้มันกลับมาใช้งานได้ถือว่าเป็นงานใหญ่มาก
“เราต้องทำความสะอาดทั้งหมด สร้างฉากขึ้นมาใหม่ ขัดคอนกรีตให้ดูมันวาว และสร้างกำแพงด้านนอกบางส่วนขึ้นมาใหม่เพราะมันอยู่ในสภาพที่ผิดเพี้ยนไปนานหลายปีแล้ว เราต้องซ่อมประตูและเปลี่ยนกระจกบานใหญ่อีกจำนวนมาก เราต้องซ่อมไฟเดิมและติดตั้งไฟเพิ่มสำหรับการถ่ายหนัง เราใช้เวลาจัดการเรื่องเก้าอี้ผู้ชมและพรมนานมาก สำหรับเราแล้วมันเป็นการนำกลิ่นอายเดิมกลับมาและตกแต่งเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ถือว่าเป็นรางวัลของเราจริงๆ มันเป็นตึกที่สวยและผมหวังว่าทัลลินน์จะรักษามันเอาไว้”
ไม่ใช่เรื่องน่าสงสัยเลยที่หนึ่งในฉากท้าทายที่สุดคือฉากการปล้นที่มีความซับซ้อนบน Laagna Tee ถนนที่มีรถวิ่งพลุกพล่านย่านใจกลางทัลลินน์ที่มีรถวิ่งสวนกันทั้งสองฝั่ง สิ่งแรกไม่ใช่เรื่องของการขออนุญาตใช้ถนนเส้นยาวสายนี้ แต่กลับเป็นเรื่องความปลอดภัยระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ช่วงหลายสัปดาห์ ผู้อำนวยการสร้างบริหารฯ โธมัส เฮย์สลิป อธิบายว่า “เราต้องปิดถนนที่มีความยาว 8 กิโลเมตร จำนวน 6 เลน ในย่านพื้นที่ใจกลางเอสโตเนียที่มีประชาชนอาศัยอยู่เยอะมาก” ถึงแม้พวกเขาจะได้รับอนุญาตแล้วแต่เขาก็ยังสารภาพให้ฟังว่า “ผมกังวลทุกวันว่าพวกเขาจะมาสั่งหยุดระงับเรา แต่สุดท้ายเราก็ได้เวลามากพอจนถ่ายทำฉากนั้นเสร็จ เรามีหลายคนที่อยากขอบคุณในการให้ความร่วมมือและการสนับสุนน ตั้งแต่ผู้มีอำนาจส่วนท้องถิ่นไปจนถึงประชาชน”
เมื่อมีหลายสิ่งเกิดขึ้น การวางแผนอย่างรัดกุมจึงเป็นหัวใจสำคัญในการเก็บภาพฉากแอ็คชั่น แอนดรูว์ แจ็คสัน แผนกวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์มีความสำคัญต่อขั้นตอนนั้นมาก เขาต้องสร้างภาพจำลองฉากทั้งหมดให้โนแลน นักแสดง และทุกฝ่ายไว้ก่อนล่วงหน้า
แวน ฮอยทีมาได้เล่ารายละเอียดว่า “ตัวอย่างเช่นในฉากขับรถไล่ล่า มันมีทั้งเหตุการณ์ที่เดินไปข้างหน้าและถอยหลัง มันมีช่วงเวลาที่ต่างกันและจะส่งผลที่ตามมาหลังจากนั้น เราต้องแก้ไขฉากนั้นเหมือนเล่นจิ๊กซอว์ ทีมงานของแอนดรูว์วางเค้าโครงทุกอย่างไว้ในคอมพิวเตอร์ สะท้อนภาพออกมาจากมุมสูงหรือจากมุมของคนอื่นในช่วงเวลานั้น จากแผนภาพที่ได้ทำให้เรากางแลปทอปออกมาเพื่อหาคำตอบว่า ‘นี่เป็นไปได้หรอ?’ ‘ไม่ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะเขายังต้องอยู่ตรงนั้น’”
“เรื่องตลกในฉากได้กลายเป็นคำถามของเราเรื่องฉากขับรถไล่ล่ากัน สมมุติฐานของเราตอนแรกมักเป็นสิ่งที่ผิดพลาดเสมอ” โนแลนเล่าให้ฟังว่า “มันชัดเจนมากเวลาที่สัญชาตญาณของเราบอกอะไรบางอย่าง เราก็จะปักใจเชื่อสิ่งนั้น แต่หลังจากที่จิ๊กซอว์มาต่อประกอบกันได้ เราก็เห็นภาพว่าเราคิดผิด และสัญชาตญาณของเราก็นำไปหาทางที่ผิด ฉะนั้นฉากที่มีความละเอียดซับซ้อนทั้งหมดทำให้เราต้องกลับไปเช็คภาพก่อนการถ่ายทำตลอดทุกครั้ง”
“ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถเห็นองค์ประกอบทั้งหมดได้ รวมถึงความเกี่ยวข้องกันของทุกสิ่งในช่วงเวลาหนึ่ง และการจินตนาการหลักฟิสิกส์กับการคำนวณมีส่วนช่วยได้เยอะมาก แอนดรูว์และทีมงานของเขามีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงแต่ละส่วนนั้นเข้าด้วยกัน” แวน ฮอยทีมากล่าว
ฉากต่างๆ ต้องอาศัยการร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ สก็อตต์ ฟิชเชอร์ และ จอร์จ คอทเทิล “เราคุยกันเยอะมากว่าจะควบคุมรถแบบไหนเวลาย้อนกลับ” ฟิชเชอร์กล่าว “เราทำการทดลองกับจอร์จเพื่อนึกภาพรถที่ย้อนกลับกัน จากนั้นทีมงานที่จัดการเรื่องภาพรถได้สร้างรถของจริงขึ้นมาในหนัง เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ทำการทดลองออกมา”
“เรามั่นใจตั้งแต่ช่วงแรกของการทดสอบ หากรถมีการเคลื่อนที่กลับกัน มันจะต้องเท่ากับรถยนต์จริงเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 50 หรือ 60 ไมล์ต่อชั่วโมง” คอทเทิลกล่าวเสริม “เราจะไม่เล่นแง่อะไรกับเรื่องนั้น มันต้องอาศัยหลักการบางส่วนและเราก็ทำได้”
คอทเทิลได้รวมนักขับรถยอดฝีมือ 20 อันดับแรกในลอสแองเจลิสมารวมตัวกัน หลายคนเคยร่วมงานในภาพยนตร์ของโนแนมาแล้วหลายเรื่อง รวมถึงจิม วิลคีย์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องการพลิกคว่ำรถบรรทุกของโจ๊กเกอร์ในเรื่อง “The Dark Knight” คอทเทิลเล่าว่า “พอเราเดินทางไปที่เอสโตเนีย ตอนนั้นเราก็มีการก้าวนำล้ำหน้าไปแล้ว”
ที่เอสโตเนีย เราได้ร่วมงานกับนักขับรถผาดโผนที่มีความชำนาญจากเอสโตเนีย ปาก สหราชอาณาจักร และจากที่อื่นๆ ก่อนการถ่ายทำฉากผาดโผน คอทเทิลได้เล่าว่า “เราเดินทางไปยังถนนที่ไม่มีการใช้งานแล้วเพื่อซักซ้อมทุกย่าง เพราะเรารู้ว่ามันจะช่วยอะไรได้มาก”
นักแสดงได้รับอนุญาตให้ขับรถเองบางส่วน แพททินสันเล่าว่า “มันสนุกสุดยอดเลยครับ ผมเป็นคนที่ขับรถระมัดระวัง แต่พอได้ขับรถเปลี่ยนเลนไปมา มีกล้องแมกซ์จับภาพอยู่หน้ารถถือว่าเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นอย่างไม่น่าเชื่อ”
โธมัสเล่าว่า “ร็อบไม่ได้พูดถึงเรื่องทักษะการขับรถของตัวเองเลย เขาทำเหมือนขับรถไม่ค่อยเก่ง ไม่ใช่คนที่มีความชำนาญอะไรสักนิด แต่พอทีมนักแสดงผาดโผนประเมิณดูว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง พวกเขาก็ไม่ผิดหวังเลย สุดท้ายเขาเลยได้ขับรถเองในหนังเยอะมาก”
นอกจากเรื่องทักษะความสามารถของนักแสดงแล้ว เรื่องความปลอดภัยก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ทีมนักแสดงผาดโผนต้องควบคุมรถในฉากที่มีการหลบหลีกอย่างยากลำบากมากขึ้น คอทเทิลอธิบายว่า “รถฮีโร่ของเราทุกคันจะมีลวดสลิงที่แขวนไว้อยู่ด้านในหรือบนตัวรถ และนักขับรถผาดโผนของเราก็จะเข้าไปอยู่ข้างในเหมือนกับเป็นกรงครอบหลังคารถเอาไว้ หรือมีลวดซ่อนอยู่บางแห่งในตัวรถ มันจะดูเหมือนนักแสดงกำลังขับรถอยู่ แต่จริงๆ แล้วนักขับรถผาดโผนของเราเป็นคนควบคุม”
ตอนนี้ทีมนักแสดงผาดโผนได้ร่วมงานในหนังที่กำกับฯ โดยโนแลนเป็นเรื่องที่ 6 แล้ว คอทเทิลได้เล่าว่า “เรื่องความปลอดภัยของคริสไม่เป็นสองรองใครเลยครับ หายใจเข้าออกคือเรื่องของความปลอดภัย เขาจะคอยหันมาถามผมตลอดว่า ‘แบบนี้คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง? มันดีมั้ย? เราปลอดภัยหรือเปล่า? คุณอยากได้เวลามากกว่านี้มั้ย? เขาจะไม่เร่งรัดใครหากมันเกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัย สำหรับผม ทีมงาน และทุกคนที่อยู่ในฉากแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก”

สถานที่ต่างๆ ในเอสโตเนียยังรวมถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Kumu ในทัลลินน์ ซึ่งใช้เป็นห้องรับรองของท่าเทียบออสโล ภายในโกดังสินค้าเป็นที่ตั้งของท่าอิสระทาลินน์ รางรถไฟ และท่าเรือที่พระเอกเดินทางมาถึงในเอสโตเนีย
อิตาลี – บนอมัลฟี โคสต์:
ที่อิตาลี “เวที” สำคัญอยู่ในน้ำที่มีสีเหมือนท้องฟ้าของอมัลฟี โคสต์ บนเรือซูเปอร์ยอร์ชสุดหรูซึ่งเป็นบ้านพักขงอังเดร ซาทอร์ ผู้ควบคุมด้านการเดินเรือ นีล แอนเดรีย มารับหน้าที่จัดหาเรือประเภทต่างๆ ที่เห็นในเรื่อง “Tenet” จนได้พบกับเรือยอร์ชที่มีชื่อว่าแพลเน็ท ไนน์ มีความยาวมากกว่า 73 เมตร (240 ฟีต) เรือยอร์ชลำนี้มี 6 ชั้นและมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัว “ซึ่งมีความสำคัญในหลายฉากที่เราต้องถ่ายทำกัน และเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งคือเราชอบมัน” โครว์ลีย์กล่าว “ตัวเรือมีสีเทาเหมือนเรือเหล็กของทหารยิ่งทำให้มันดูมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งเหมาะกับตัวละครนี้มาก”
บรานอห์เห็นด้วยว่า “ซาทอร์ออกแบบและสร้างมันขึ้นมาให้เป็นเหมือนวัง ที่หลบภัย ที่ซ่อนตัว และเป็นการบอกใบ้เราว่าเขาทำอะไรกับโลก ซึ่งแสดงออกทั้งการต่อสู้และการต่อต้าน ตัวเรือมีทั้งลวดลายและโครงสร้างที่งดงามชวนทึ่ง ต้องบอกตามตรงเลยว่าหนังทุกเรื่องไม่มีฉากไหนที่ถ่ายทำโดยบังเอิญหรอก แต่ทุกฉากในหนังของคริส โนแลนจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์หเห็นว่าเราเสริมอะไรเข้าไปในเรื่องได้ตลอดเวลา ฉะนั้นเรือลำนี้ที่ดูเหมือนเรือทหารทั้งสีและโครงสร้างของเรือ ทำให้เราเข้าถึงความคิดของอังเดร ซาทอร์เห็นภาพชัดว่านี่คือลางร้ายที่กำลังคืบคลานเข้ามา”
เพื่อเป็นการขยายภาพนั้นให้เห็นชัดเจนขึ้น โครว์ลีย์เล่าว่าเขาได้ติดชุดเครื่องแบบทางทหารเอาไว้ทางด้านท้ายเรือแพลเน็ท ไนน์ด้วย “เราได้เพิ่มเครื่องปล่อยขีปณาวุธเข้าไป เพื่อเพิ่มความรู้สึกในแนวทหารที่สื่อว่า ‘อย่าเข้าใกล้เรือยอร์ชลำนี้’ และยังเพิ่มความรู้สึกว่าเราเข้าใกล้ผู้ชายคนนี้ไม่ได้”
สิ่งที่ได้รับความเอาใจใส่ที่สุดคือการปรับเปลี่ยนใดๆ ที่เกิดขึ้นกับเรือและตลอดการถ่ายทำ โครว์ลีย์ยืนยันว่า “เวลาเรามีการเช่าซูเปอร์ยอร์ชลำใหญ่ เราจะพยายามไม่ทำให้เกิดความเสียหายอะไร พอทีมงานลงเรือและนำอุปกรณ์ทุกอย่างมา สิ่งสำคัญคือทุกซอกมุมและทุกพื้นผิวบนเรือต้องมีการป้องกันรอยขีดข่วนเป็นอย่างดี” อันที่จริงทีมงานภาพยนตร์ 4 คนได้รับมอบหมายให้ปกป้องดูแลเรือยอร์ชจากความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
โครว์ลีย์และทีมงานของเขาได้ปรับเปลี่ยนเรือยอร์ชบางส่วน เชน ดาดฟ้าเรือที่สร้างขึ้นมาบนดาดฟ้าเรืออีกชั้นหนึ่งให้สูงขึ้น ชุดตกแต่งที่ติดเพิ่มลงไปบนเสื้อผ้าของตัวละครซาทอร์ มีการเคลื่อนย้ายหรือปรับตำแหน่งอุปกรณ์ตกแต่งที่มีอยู่ให้ดูมีความซับซ้อนมากขึ้น “เราต้องเคลื่อนย้ายข้าวของต่างๆให้สอดคล้องกับตำแหน่งไฟและกล้อง” โครว์ลีย์กล่าว “อย่างน้อยต้องมีสักห้องหนึ่งที่เราต้องย้ายเฟอร์นิเจอร์ออกเยอะมาก เพื่อให้ห้องมีพื้นที่มากขึ้น นักแสดงจะได้มีพื้นที่ในการขยับตัว” การเคลียร์พื้นที่มีความหมายว่าเฟอร์นิเจอร์บางส่วนต้องถูกย้ายออกไปจากดาดฟ้าเรือ เพื่อความปลอดภัยทีมงานของแพลเน็ท ไนน์จึงเข้ามารับหน้าที่เรื่องการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์
บนเรือยอร์ชมีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ที่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อรับน้ำหนักของเฮลิคอปเตอร์รัสเซียใบพัดคู่ Mil Mi-8 ของซาทอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่าที่ลานจอดจะรับน้ำหนักสูงที่สุดได้ เฮย์สลิปเล่าถึงรายละเอียดว่า “เราต้องมานึกภาพกันว่าจะทำอย่างไรกับฉากเฮลิคอปเตอร์ โดยที่ไม่ให้มีการสัมผัสพื้น จนเราได้พบกับทีมผู้ชำนาญจากทางตอนเหนือของยุโรปที่ทำการค้นคว้าข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องนี้ พวกเขาทำการทดสอบกัน และเมื่อเราต้องถ่ายทำฉากนั้น พวกเขาได้นำเฮลิคอปเตอร์เข้ามาและควบคุมให้บินระดับต่ำ มันจะดูเหมือนล้ออยู่บนเรือยอร์ช แต่จริงๆ แล้วไม่ได้สัมผัสเรือเลย ตามหลักแล้วมันมีความกว้างเท่ากระดาษแผ่นเดียว แต่พวกเขาสามารถกะระยะได้อย่างแม่นยำ”
แม้ว่าฉากต่างๆ บนเรือยอร์ชที่มีความสำคัญจะเกิดขึ้นที่เวียตนาม ผู้สร้างภาพยนตร์เข้าใจดีว่าไม่มีทางที่แพลเน็ท ไนน์จะเดินทางล่องไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ พวกเขาเลยจำลองอมัลฟี โคสต์เป็นเวียตนาม “มีหน้าผาบางแห่งที่อยู่ใกล้พื้นที่นั้น ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีที่โดดเด่นชัดเจน” โครว์ลีย์กล่าว “เราเลยสามารถใช้ที่นั่นจำลองเป็นเวียตนามได้ มันเป็นการเก็บภาพฉากที่มีความยาว เราเลยต้องปรับเปลี่ยนหน้าตาของมันจากระยะไกล เราสร้างดาดฟ้าเล็กๆ ขึ้นมาบนชายหาด และปรับสภาพเรือตกปลาอิตาเลียนบางส่วน เพื่อให้มันดูเหมือนเรือตกปลาของชาวเวียตนาม ยินดีต้อนรับสู่เวียตนามได้เลย” เขายิ้ม
การถ่ายทำที่อมัลฟี โคสต์ยังมีการใช้สถานที่ในเมืองราเวลโล รวมถึงร้านอาหารที่พระเอกได้พบกับซาทอร์เป็นครั้งแรก
สหราชอาณาจักร – เซาแธมป์ตันและลอนดอน:
แพลเน็ท ไนน์อาจทำหน้าที่เป็นบ้านบนทะเลของอังเดร ซาทอร์ แต่ความตื่นเต้นอยู่บนทะเลที่มีคลื่นลมสูง เพราะเขายังเป็นเจ้าของเรือใบ F50 ที่มีความทันสมัยถึง 2 ลำ คุณสมบัติเด่นของ F50 คือเรื่องความสูง 24 เมตร (เกือบเท่า 79 ฟีต) ใบเรือมีความแข็งคล้ายกับปีกเครื่องบิน มีความโค้งรับลมที่อยู่รอบด้านทำให้มีกำลังสูงขึ้น ปีกที่อยู่ใต้เรือทำหน้าที่ยกพยุงตัวเรือให้อยู่บนผิวน้ำ ทำให้ลดแรงต้านและเพิ่มระดับความเร็วมากขึ้น F50 สามารถทำลายสถิติความเร็วที่มากกว่า 50 น็อต สูงกว่า 60 ไมล์ต่อชั่วโมง ผู้ที่ทำหน้าที่คุมเรือต้องมีทั้งความกล้าและมีทักษะในการควบคุม เพราะเรือสูงมากจนสามารถพลิกคว่ำได้ อีกทั้งยังมีความเร็วต่ำจนเราสามารถเสียการควบคุมความเร็วได้
หลังจากพระเอกได้ทำการติดต่อกับเขา ซาทอร์ได้พาเขาขึ้นเรือ F50 ลำหนึ่งไปแข่งกับลำอื่น สำหรับทั้งสองตัวละครและตัวนักแสดงที่รับบทนี้ต่างรู้สึกตื่นเต้นอย่างเห็นได้ชัด “การทำอะไรแบบนั้นมันน่าตื่นเต้นมาก” วอชิงตันยืนยัน “มันเคลื่อนที่ไปได้สูงจนผมคิดว่า ‘ล้อกันเล่นหรือเปล่า?’ แต่ผมจะทำตัวขี้ขลาดไม่ได้ โดยเฉพาพอเห็นคริสและฮอยท์อยู่ที่นั่นคอยเก็บภาพเรา มันเหมือนกับอยู่ในสวรรค์และมีความสุขในทุกช่วงเวลา มันสนุกมากเลยครับ เป็นการล่องเรือที่ราบรื่นมาก!”

เดบิคกี้เล่าเสริมว่า “ตอนที่เราทั้งสามคนเกาะอยู่ด้านหนึ่ง และเรือร่อนขึ้นเหนือผิวน้ำ ผมไม่เคยรู้สึกอะไรแบบนั้นมาก่อนเลย มันทั้งตื่นเต้นและน่ากลัว.. โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่เคยผ่านการฝึกเพื่อมาเป็นลูกเรือมาก่อน แต่นี่คือหนึ่งในของขวัญจากหนังของโนแลน เราจะได้เห็นตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่แต่ก่อนเราไม่เคยผ่านการเรียนรู้การเดินเรือ ได้เข้าไปอยู่ในนั้น รหือแม้แต่เคยเห็นเลย”
ทีมงานรู้ดีว่าต้องอาศัยความกล้าในการควบคุม F50 กองถ่ายได้ขอความช่วยเหลือจากทีม SailGP แต่พวกเขากำลังอยู่ระหว่างการแข่งขัน และการถ่ายทำเรื่อง “Tenet” จะถ่ายกันที่อลัมฟี ซึ่งพวกเขาจะแข่งขันกันที่นีซ โชคดีที่เราสามารถนัดพบกันที่เซาแธมป์ตัน สหราชอาณาจักรได้หลังจากช่วง Cowes Week ซึ่งเป็นการแข่งขันเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่พวกเขาก็มีช่วงการถ่ายทำได้สั้นมาก เพราะทีมงานต้องซ่อมเรือของพวกเขาที่กลับจากการแข่งขันล่าสุด และเตรียมความพร้อมสำหรับการล่องเรือต่อในหนัง
แม้ว่าจะได้ผู้ที่มีความชำนาญมากที่สุดมาทำหน้าที่ควบคุมเรือ แต่หลังจากนั้นไม่นานผู้สร้างภาพยนตร์ได้รู้ว่ามันยังมีเรื่องตัวแปรความเร็วทิศทางลมที่ F50 จะล่องได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย มันต้องมีกำลังลมอย่างต่ำ 5 น็อตแต่ห้ามเกิน 18 “เราโชคดีมากในเรื่องข้อจำกัดที่เรือพวกนี้ทำได้และทำไม่ได้” แวน ฮอยทีมากล่าว “มันเป็นเรื่องยากเพราะทีมงานกองถ่ายคุ้นเคยกับการเตรียมแผนความพร้อม เราจะถ่ายทำกันและทุกอย่างเป็นไปตามที่วางแผนไว้ จนเราได้ฉากที่ดูน่าสนใจ… แต่ทันใดนั้นลมก็ผ่านเข้ามาและเราก็ต้องย้อนไปถ่ายทำกันใหม่ เรือพวกนี้มีความน่าทึ่งหลายเรื่อง ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากครับ แต่อีกมุมก็น่าผิดหวังตรงที่เราไม่สามารถกำหนดอะไรได้เลย ปัจจัยอื่นเป็นตัวกำหนดทั้งนั้น”
ไม่มีเรือลำไหนที่จะแล่นได้ด้วยความเร็วเต็มที่ของ F50 ทั้งโนแลนและแวน ฮอยทีมาเลยใช้เฮลิคอปเตอร์เก็บภาพตามเรือ และใช้กล้องที่อยู่บนเรือพร้อมกับกล้องไอแมกซ์ที่อยู่ขอบเรือเก็บภาพ F50 ตอนที่แล่นผ่านไป สำหรับฉากโคลสอัพและฉากที่มีการพูดคุยกัน พวกเขาได้สร้าง “ห้อง” ขึ้นมาจำลองโครงสร้างของเรือ F50 ซึ่งสามารถผูกติดกับเรือลำใหญ่กว่าได้ นักแสดงจะถ่ายทำกันในห้องนั้น ส่วนโนแลน แวน ฮอยทีมา และตากล้องจะอยู่บนเรือที่ผูกติดไว้ด้วยกัน
ส่วนที่สหราชอาณาจักร บางฉากมีการถ่ายทำกันที่ลอนดอน โดยมีการใช้สถานที่อย่าง Shipley’s Auction House ที่พระเอกได้พบกับแคทครั้งแรก โรงเรียนเอกชนที่ลูกชายของซาทอร์และแคทเรียน และคลับของเมมเบอร์ที่พระเอกได้พบกับไมเคิล ครอสบี้ ตัวละครของไมเคิล เคน
อินเดีย – มุมไบ:
ผู้สร้างภาพยนตร์ นักแสดง และทีมงานเดินทางไปที่มุมไบ ประเทศอินเดียในช่วงปลายฤดูมรสุม ซึ่งบางช่วงจะมีฝนตกกระหน่ำลงมา ถือเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่ต้องพูดถึงในการถ่ายทำภาพยนตร์ “ผมพูดตรงๆ เลย” เฮย์สลิปเล่าถึงตอนนั้น “เราเตรียมพร้อมจะถ่ายทำกัน พระอาทิตย์ส่องในแบบที่เราต้องการ คริสพูดขึ้นมาว่า ‘เอาล่ะทุกคน เตรียมตัวออกไปถ่ายกันได้’ แล้วจากนั้นเราก็มองเห็นก้อนเมฆขนาดใหญ่คืบคลานเข้ามา เราต้องคลุมข้าวของทุกอย่างและขับรถท่ามกลางสายฝน แต่พอทุกอย่างผ่านไป เราก็กลับมาถ่ายทำกันใหม่.. ในสภาพที่เปียกโชก”
การถ่ายทำภายใต้ความมืดทำให้ต้องอาศัยแสงไฟ ซึ่งรวมถึง “โคมไฟขนาดใหญ่บนหลังคาที่อยู่รอบตัว เพราะเราต้องการไฟสาดส่องครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่” แวน ฮอยทีมากล่าว “ละอองน้ำจากท้องฟ้าเมื่อรวมกับหลอดไฟแรงสูงทำให้เกิดความท้าทายทางเทคนิคมาก แต่เราก็ต้องหาทางแก้ให้ได้ ต้องขอบคุณทีมงานของผม พวกเขามีความชำนาญในงานของตัวเอง ทำให้สถานการณ์ที่ยุ่งยากกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดาย”
การถ่ายทำตอนกลางคืนมีฉากผาดโผนที่มีความซับซ้อน รวมถึงเรื่องสภาพอากาศที่ไม่ราบรื่น พระเอกและนีลได้เข้าไปในเพนท์เฮาส์ที่มีความปลอดภัยระดับสูง บนตึก 20 กว่าชั้นเพื่อติดต่อเรื่องสำคัญ แต่การจะเห็นด้านในได้คือต้องมองจากด้านอก คอทเทิลเล่าให้ฟังว่า “เรามองหาสิ่งที่แตกต่างออกไป และผมบอกไปว่า ‘ถ้าเราส่งพวกเขาอยู่ข้างตึกล่ะ?’ คริสยังคิดไกลกว่านั้นว่า ‘ถ้าเราดีดตัวพวกเขาขึ้นไปล่ะ?’ ผมเลยตอบว่า ‘ทำไมไม่ได้ล่ะ?’ พอผมพูดแบบนั้น ผมรู้เลยว่าคริสไม่มีผิดคำพูดแน่ เราเลยมีการวางแผนกันย่างหนักเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับฉากผาดโผนนั้น เพราะเราต้องคำนวณตามความจริง และสิ่งที่สำคัญสุดคือเรื่องความปลอดภัยเช่นเคย”
ผู้ควบคุมการแสดงผาดโผนและผู้ควบคุมสายลวดสลิง คริส แดเนียลส์ บินไปยังมุมไบเพื่อคำนวณความแม่นยำ และดูว่าจะต้องใช้ลวดสลิงมากขนาดไหน “มันมีความสูง 250 ฟีตถึงจุดที่เราต้องการ ฉะนั้นมีทางเดียวคือเราต้องสร้างเสาค้ำ” คอทเทิลกล่าว
ทีมงานขนาดย่อมเดินทางมาก่อนเพื่อเริ่มเตรียมงานและทดสอบการแสดงผาดโผน “เราจะมีเวลาอยู่ที่มุมไบไม่ถึง 1 สัปดาห์ ผมรู้ว่าทันทีที่เราไปถึงมันจะต้องพร้อมลงมือเลยทันที! และทุกคนเดินทางไปถึงที่นั่นช่วงกลางฤดูมรสุม ฉะนั้นพวกเขาต้องใช้ลวดสลิง ทำการทดสอบ และเตรียมความพร้อมทุกอย่างท่ามกลางสายฝนที่กระหน่ำลงมาแรงที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา” คอทเทิลกล่าว
มีการก่อสร้างบนหลังคาตึกและต้องอาศัยอลูมิเนียมที่มีความแข็งแกร่งพิเศษ เสาที่ใช้ยึดลวดเพื่อส่งตัวนักแสดงต้องมั่นคงเชื่อถือได้ จากนั้นนักแสดงผาดโผนแทนพวกเขาจะขึ้นไปบนหลังคาใกล้เคียงบนตึกที่มีความสูง 7 ชั้น ทั้งสองคนจะเอนตัวอยู่บนหลังคาและขึ้นไปด้วยความเร็วสูง ซึ่งทุกอย่างได้ผ่านการทดสอบอย่างรอบคอบมาก “จากนั้นเราจะกดปุ่มและส่งตัวพวกเขาขึ้นไปที่ความสูง 70 ฟีต จนถึงจุดแรกของตึกที่พวกเขาจะได้สัมผัส” คอทเทิลอธิบายว่า “และก็เหมือนเดิมเราจะกดปุ่มอีกครั้งและส่งพวกเขาไปยังจุดที่ยืนได้ จอห์น เดวิดและร็อบเคลื่อนตัวไปก่อนรอบแรก เราหยุดพวกเขาที่ความสูง 20 ฟีตแรก ฉะนั้นเวลาที่คุณเห็นตัวละครหายไปจากเฟรม นั่นคือพวกเขาจริงๆ มันวิเศษมากครับที่ได้เห็นพวกเขาทำแบบนั้น”
ส่วนพระเอกและนีลต้องบันจี้จัมพ์ออกจากด้านข้างระเบียง วอชิงตันและแพททินสันเคลื่อนที่ก่อนเป็นคนแรกโดยการกระโดดไปยังตาข่ายด้านล่าง ก่อนที่นักแสดงผาดโผนแทนพวกเขาทั้งแดเนียล กราแฮมและไคล์ แม็คลีนจะมาแทนที่ตามลำดับ นักแสดงทั้งสองคนยอมรับว่าแม้พวกเขาจะไว้ใจในการเตรียมตัวและความปลอดภัยที่แม่นยำสูง แต่ตอนแรกที่ต้องกระโดดก็รู้สึกน่ากลัวมาก “เรายังหัวเราะกันมาถึงตอนนี้ แต่ตอนนั้นผมรู้สึกกังวลมาก” วอชิงตันกล่าวพร้อมรอยยิ้ม “ตรงนั้นจะมีเบาะรองอยู่ น่าจะต่ำกว่าราวตึกครึ่งชั้น แต่เราก็ยังต้องกระโดดออกไปหลังจากนั้นผมก็พร้อมรับกับทุกอย่าง”
แพททินสันก็เห็ฯด้วยว่า “ถึงเราจะกระโดดกันนิดหน่อยแต่มันก็เหมือนกับการกระโดดสูงมาก เพราะเราอยู่บนลวดเส้นเดียวกัน ต้องมองที่ตึกสูง 20 ชั้น มันน่ากลัวแต่ก็สนุกดีครับ และเป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นมาก มันเหมือนฉากที่เหมือนฝันที่ได้แสดงเลย”
“เวลาที่เรามีนักแสดงที่มีพรสวรรค์อย่างที่เรามีในเรื่องนี้ มันทำให้ผมมีอิสระในฐานะของผู้สร้างภาพยนตร์” โนแลนกล่าว “มันทำให้ผมมีอิสระมากขึ้นวาจะถ่ายทำแบบไหน และมันก็ทำให้ผมมีความสุขมากเลยครับ”
ระหว่างอยู่ที่อินเดีย กองถ่ายยังมีการเก็บภาพประตูที่งดงามที่มีโครงสร้างแบบอินเดีย และมองลงไปจะเห็นทะเลอะราเบียน
นักแสดงบางคนคุ้นเคยกับการถ่ายทำที่มีความซับซ้อนในบ้านเกิดเมืองมุมไบ ดิมเบิล คาพาเดียอธิบายว่า “ฉันไม่เคยถ่ายทำอะไรแบบนี้เลยค่ะ การเดินทางมาที่อินเดียและเตรียมกองถ่ายขนาดใหญ่แบบนี้เป็นอะไรที่วิเศษมาก ทุกอย่างมีการจัดเตรียมและออกมาเรียบร้อย มันเหมือนกับเข็มนาฬิกาเลยค่ะ ทุกคนรู้สึกเซอร์ไพรส์กับสิ่งที่คริสและทีมงานลงมือทำที่นั่นมากค่ะ”
สแกนดิเนเวีย – เดนมาร์ก และ ออสโล นอร์เวย์:
ในช่วงแรกของภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” พระเอกต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวบนหอคอยกังหันในฟาร์มขนาดใหญ่ที่ห่างไกลจากชายฝั่ง เขาเก็บตัวฝึกซ้อมที่นั่นเพื่อก้าวต่อไป … และรอที่จะได้เรียนรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อ บรรยากาศทั้งภายนอกและภายในมีการถ่ายทำกันที่ฟาร์มกังหันที่มีกระแสลมบนชายฝั่งทะเลบอลติกแห่งเดนมาร์ก
นอกจากในน้ำแล้ว การถ่ายทำยังใช้เรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่ ซึ่งสภาพอากาศมีผลต่อการเดินเรือเช่นเดิม “อุปสรรคใหญ่อย่างนึ่งของเราตอนที่ถ่ายทำในที่แบบนั้นคือเรื่องอากาศ” นีล แอนเดรียกล่าว “เราอยู่ในฟาร์มที่มีลมพัดแรง เรารู้เลยว่ามันไม่ง่ายแน่ ชวงนั้นเรามีกระแสลม 40 กว่าน็อตและเพิ่มขึ้นอีก 8-10 ฟุต แต่สิ่งที่เราเรียนรู้จากการทำงานในเรื่อง ‘Dunkirk’ ทำเรามีความพร้อมและรู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไร”
ตัวเรือตัดน้ำแข็งมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะเข้ามาจอดในท่าเรือได้ จึงต้องจอดเรือไว้ไกลจากชายฝั่ง 1 ไมล์ ทั้งนักแสดง ทีมงาน ตากล้อง และอุปกรณ์อื่นๆ ต้องขนย้ายจากบนบกไปยังเรือที่ใช้ขนส่งทีมงาน ท่ามกลางคลื่นลมที่พัดแรงก็ยังมีความนิงสงบอยู่ตราบใดที่อยู่ใกล้กับเรือ แอนเดรียอธิบายว่า “เรือตัดน้ำแข็งจะมีระบบหาตำแหน่ง และเคลื่อนย้ายจากด้านข้าง ซึ่งจะยึดเกาะตำแหน่งได้อย่างมั่นคง ด้วยเหตุผลนั้นทำเราสามารถหันเรือเข้าหากระแสลมได้ มันจะนิ่งสงบมากเวลาที่มาจากทางท้ายเรือ ซึ่งเราสามารถส่งคนและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นลงได้อย่างปลอดภัย”
ทีมงานยังใช้เวลา 1 วันในการถ่ายทำที่ออสโล ประเทศนอร์เวย์ รวมถึงฉากที่พระเอกและนีลพบกันบนดาดฟ้าออสโลโอเปร่าเฮาส์ และคุยกันเรื่อง “การแสดง” ฉากเครื่องบนชนกันที่เกิดขึ้นบนถนนในเมือง
สหรัฐฯ – แคลิฟอร์เนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ในเรื่องราวเกิดขึ้นที่ออสโล แต่มีการตัดสินใจว่าฉากเครื่องบินชนกันในเรื่องจะถ่ายทำที่สนามบินในวิคเตอร์วิลล์ ประเทศแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Mojave Desert แม้ว่าโนแลนจะชอบการถ่ายทำฉากแอ็คชั่นที่มีระเบิดส่วนใหญ่ต่อหน้ากล้อง แต่เขาก็มีการวางแผนถ่ายทำฉากพิเศษโดยการใช้แบบจำลองและวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ โดยเข้าใจดีว่าไม่สามารถถ่ายบางฉาก ไปจนถึงฉากเครื่องบินจริงชนกันได้ โธมัสได้เปิดเผยว่า “เราหาหลายวิธีจนสรุปได้ที่การซื้อเครื่องบินปลดประจำการแล้วจะคุ้มค่าเงินกว่าการสร้างเครื่องบินจำลองและพื้นที่ด้านในเท่าขนาดจริงขึ้นมา”
โนแลน โครว์ลีย์ และเฮย์สลิปเดินทางไปยังสนามบินในวิคเตอร์วิลล์ ที่นั่นจะมีเครื่องบินโดยสารเก่าๆ ถูกแยกชิ้นส่วนเก็บไว้ เครื่องบินที่โนแลนเลือกใช้เป็นเครื่องบินจัมโบ้เจ็ท 747 แต่ก่อนที่พวกเขาจะเอามาถ่ายฉากชนกันได้ อย่างแรกคือต้องทำการฟื้นฟูสภาพมันก่อน สก็อตต์ ฟิสเชอร์อธิบายว่า “เมื่อเครื่องบินถูกปลดประจำการแล้ว พวกเขาจะนำเบรกและชิ้นส่วนอื่นออกไป สิ่งแรกที่เราต้องให้ความสนใจคือการนำเบรกกลับไปใส่ เพราะการทำให้เครื่องบินหยุดได้คือเรื่องสำคัญ เรายังนึกถึงเรื่องการบังคับทิศทาง การลากเครื่องบินของเราจะเป็นแบบไหน และต้องแน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น”
ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการทำความตั้งแต่สนามบินไปจนถึงตัวเครื่องบิน จึงต้องมีทั้งผู้สร้างเครื่องบินและผู้ดูแลโรงเก็บเครื่องบิน เพราะมันคือส่วนหนึ่งของการสร้างฉากขึ้นมา “ในฉากนั้นต้องมีเครื่องบินร่อนเหนือรถยนต์ และร่อนลงมาจนพุ่งชนกับตึกก่อนจะระเบิด ซึ่งทุกอย่างคือสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นที่สนามบิน” เฮย์สลิปเข้าใจเรื่องนั้นดี “หลังจากที่ทุกคนเห็นด้วยแล้ว เราได้นำเครื่องบินมาทีลานและพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับโรงเก็บเครื่องบินหรือเครื่องบินที่เก็บเอาไว้ เรามีนักฟิสิกส์คำนวณทุกอย่างให้นักแสดงผาดโผน มีการถามพวกเขาว่าถ้าเครื่องบินมีน้ำหนักเยอะขนาดนี้ มีแรงเบรกได้เท่านี้ มีความเร็วเคลื่อนที่เท่านี้ มันจะหยุดการเคลื่อนที่ได้เร็วแค่ไนห และมันจะหยุดที่ตรงไหน? เราแสดงให้พวกเขาเห็นว่าถ้ากดปุ่มตรงนี้ เครื่องบินจะเคลื่อนที่ไป 23 ฟีตและหยุดตรงนั้น ซึ่งพวกเขาก็ตอบตกลง”
สำหรับเหตุผลต่างๆ ทั้งในแง่ความปลอดภัยและการควบคุมแล้ว เครื่องบินเจ็ทไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง จิม วิลคีย์ ผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนจนได้ใบอนุญาตเฉพาะทางต้องลากเครื่องบินไปตามรันเวย์ ก่อนจะทำการเลี้ยวเปลี่ยนทิศทาง จากนั้นระบบสายเคเบิลจะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการ คอทเทิลอธิบายว่า “จิมใช้เวลาลายอาทิตย์ร่วมกับสก็อตต์และทีมงานของเขา เพื่อจัดการเรื่องระบบและลดระยะเวลาลงก่อนที่พวกเราที่เหลือจะเดินทางไปถึง”
เครื่องบินเคลื่อนที่โดยคนขับที่อยู่ในห้องควบคุมในท้องเครื่องบิน “เรามีข้อบังคับเลยว่าต้องไม่มีใครอยู่ในห้องเครือง เพื่อกันพวกเขาให้อยู่ห่างจากบริเวณที่จะได้รับผลกระทบ และอยู่ฟากฝั่งของการเกิดระเบิด” ฟิชเชอร์กล่าว
การถ่ายทำฉากนั้นเกิดขึ้นในช่วงค่ำคืน ฉากเครื่องบินเจ็ทชนกันนี้ต้องติดตั้งดวงไฟขนาดใหญ่ แวน ฮอยทีมายืนยันว่า “มันต้องครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เราเลยมีทั้งโคมไฟขนาดใหญ่และตัวจ่ายไฟอยู่ด้านบนที่สาดแสงปกคลุมทั่วตึก ซึ่งจะเห็นทุกอย่างชัดเจนในรัศมี 1 ไมล์ ถือเป็นความท้าทายเพราะมันมีการจำลองเป็นสนามบินในออสโล และเราไม่อยากให้เห็นทะเลทรายโมฮาวีที่แห้งแล้ง”
ในระหว่างการถ่ายทำฉากที่มีความละเอียดซับซ้อนแบบนี้ โนแลนเล่าว่าเขาต้องควบคุมจิตใจให้สงบไว้ เพื่อที่คนอื่นๆ จะได้รู้สึกสงบตาม “ผมต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและไม่คิดถึงเรื่องความยิ่งใหญ่ของมัน ผมต้องมองมันเหมือนฉากทั่วไป เพราะหัวหน้าฝ่ายต่างๆ และผู้คนมารวมตัวกัน ฉะนั้นทุกสิ่งที่ดูวุนวายจะต้องควบคุมความสงบและความปลอดภัยให้ได้ ถ้าทุกคนมัวแต่ตื่นตากับขนาดความยิ่งใหญ่ของมัน ทุกอย่างอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เราต้องโฟกัสเรื่องความปลอดภัยมาก จะมีการประสานงานกับแต่ละฝ่ายว่าตรงไหนที่เราเข้าไปได้ และตรงไหนเราติดตั้งกล้องได้ แต่พอทุกอย่างเดินหน้า ตัดต่อภาพทั้งหมดเข้าด้วยกัน ได้เห็นปฏิกิริยาของทุกคนแล้วผมก็รู้สึกมีความสุขกับมันมากเลย”
ไฮเมช พาเทล เจ้าของตัวละครมาเฮอร์เป็นส่วนสำคัญในฉาก เขาเล่าฟังว่า “คริสทำทุกอย่างยิ่งใหญ่ แต่ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญกับเนื้อเรื่อง เขาจะมีภาพทุกอย่างและเรามั่นใจเขาได้เลย รู้สึกทึ่งมากครับที่ได้มาเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง”
นอกจากนี้ยังมีการใช้อาคารโดยสารในสนามบินลอสแองเจลิสแทนอาคารโดยสารสนามบินออสโลอีกด้วย
ฉากที่มีความซับซ้อนที่สุดในเรื่อง “Tenet” เกิดขึ้นในเมืองที่รกร้างของรัสเซีย และมีการใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์แยกกันถึง 3 แห่ง ฉากด้านนอกมีการถ่ายทำที่เหมืองแร่เหล็กที่ตอนนี้ไม่มีการใช้งานแล้ว ตั้งอยู่ในเมืองทะเลทรายบนเทือกเขาอีเกิล ใกล้กับอินดิโอ นาธาน โครว์ลีย์เล่าให้ฟังว่า “เราอยากทุบตึกต่างๆ ที่ไม่มีการใช้งานแล้ว ภูมิประเทศแบบไซบีเรียไม่มีแม้แต่ต้นไม้หรือใบไม้เลย เทือกเขาอีเกิลจะมีสิ่งก่อสร้างอยู่กลุ่มหนึ่งที่เราคิดว่าสามารถเปลี่ยนเป็นอพาร์ทเมนท์เก่าได้ เราเลยมีการเพิ่มตึกอาคารเข้าไป แต่ยังคงรักษาอารมณ์แห่งความโหดร้ายที่ได้มาจากสถาปัตยกรรมต่างๆ ในหนังตั้งแต่ลินนาฮอล”
นอกจากการก่อสร้างตึกที่มีขนาดเท่าของจริงขึ้นมาแล้ว ทีมงานของโครว์ลีย์ยังมีการตกแต่งสิ่งที่เขาเรียกว่า “ยิ่งใหญ่อลังการ” ซึ่งเป็นโมเดลขนาดใหญ่ และมีการจัดมุมที่ทำให้ฉากที่ดูยิ่งใหญ่อยู่แล้วมีความอลังการมากขึ้น “เราหลอกตาได้ด้วยมุมภาพที่ผิดธรรมชาติ” โครว์ลีย์กล่าว “เราสามารถทำให้บางสิ่งดูใหญ่สุดสายตาได้ แต่มันคือภาพลวงตา จริงๆ แล้วมันคือเทคนิคสมัยก่อนที่จะมีการใช้กรีนสกรีนเข้ามาแทนที แต่เราเลือกที่จะใช้วิธีถ่ายทำจริง ทำไมน่ะหรอ? เพราะการสร้างอะไรขึ้นมามันสนุกกว่า ถ้าเราสร้างมันได้เราก็สร้าง ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ เราก็อาศัยทีมงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของเรา”
นอกจากนักแสดงนำในเรื่องแล้ว ฉากเทือกเขาอีเกิลก็ต้องอาศัยทีมนักแสดงผาดโผนและนักแสดงสมทบอีกนับร้อยคน การแสดงมีความสำคัญพอๆ กับเรื่องสถานที่ จอร์จ คอทเทิลมีบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการแสดง “เรารู้ดีว่าเราต้องอาศัยอดีตนายทหาร เพราะพวกเขาเหล่านี้ผ่านทุกสิ่งที่เกี่ยวกับทหารมาอย่างเต็มที่ ทั้งอาวุธปืนและอุปกรณ์ทุกอย่าง ต้องใช้เวลาแบกของเหล่านั้นนาน 10 ชั่วโมงต่อวันกลางทะเลทรายร้อนๆ เพื่อสร้างความรู้สึกบางอย่างขึ้นมา” นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังต้องวิ่งข้ามเขาที่เต็มไปด้วยหินและเศษคอนกรีตจากการระเบิดตึกอาคาร โดยที่ต้องระวังเรื่องระเบิดที่อยู่รอบตัวพวกเขาด้วย
ฉากภายในบางส่วนของเทือกเขาอีเกิลสร้างขึ้นใน Stage 16 ที่วอร์เนอร์ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าที่นั่นมีแทงค์น้ำขนาดยักษ์ “Stage 16 มีความสูงตามที่เราต้องการ เพราะแทงค์น้ำนั้นต้องสร้างขึ้นมา 20 ฟีตจากระดับพื้น” โครว์ลีย์กล่าว “เราไม่มีทางสร้างมันขึ้นมาในโรงถ่ายอื่นได้เลย มันเหมาะมากสำหรับเรื่องความสูง”
สถานที่แห่งที่ 3 คือห้างในเมืองฮอว์โธรนที่ปิดตัวลงไปแล้ว ซึ่งพวกเขาได้สร้างประตูทางเข้าขนาดใหญ่ขึ้นมาที่นั่น “มันมีประตูทางเข้าใต้ดินที่ดูแข็งแกร่ง เป็นประตูคอนกรีตแบบบริษัทอุตสากรรม เราสร้างกันที่นั่นเพราะมันมีสถาปัตยกรรมที่ดูรุนแรง” โครว์ลีย์กล่าว
แต่ละฝั่งจะมีทางเข้า 4 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านจะมีการออกแบบของตัวเอง ด้านหนึ่งก่อสร้างขึ้นในโกดังที่เอสโตเนีย อีกสองด้านสร้างขึ้นในฮอว์โธรน มอลล์ และด้านที่สี่สร้างขึ้นใน Stage 23 ที่วอร์เนอร์ บราเดอร์ส “ฉากเหล่านั้นเป็นที่น่าจดจำมาก” เฮย์สลิปกล่าว “นึกถึงภาพประตูที่หมุนได้แต่มีขนาดใหญ่หลายเท่ามาก พวกเขาสร้างชิ้นส่วนกลไกที่ดูน่าทึ่งและมีการเชื่อมโยงถึงกัน บางส่วนมีขนาดใหญ่จนถึงขั้นขับรถเข้าไปได้เลย”
ควบคุมเวลา
ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นสุดท้ายของเรื่อง “Tenet” คือเพลงประกอบภาพยนตร์ ประพันธ์โดยลุดวิก โยรันส์สัน ที่เล่าว่าแม้เขาไม่เคยร่วมงานกับผู้กำกับฯ มาก่อน “คริสมีอิทธิพลมากต่อการทำงานและการดูหนังของผม พอได้คุยกับเขาเรื่องจินตนาการเกี่ยวกับเพลงประกอบภาพยนตร์ ผมรู้สึกชื่นชมในความรู้ด้านดนตรีอย่างลึกซึ้งของเขาทันที และการข้ามขอบเขตการแต่งเพลงในเรื่อง ‘Tenet’ ตอนที่ผมเริ่มแต่งเพลง เรื่องต่างๆ ที่พูดคุยกันกลายเป็นเรื่องการฟังเพลงที่เราใช้วิเคราะห์ดนตรี การประสานเสียง และการจัดเรียงองค์ประกอบ จากนั้นมีการขัดเกลามันออกมาทีละนิดละน้อย พอถึงเวลาที่คริสต้องออกไปถ่ายหนัง เขาจะมีเวลาฟังเพลง 2 ชั่วโมงช่วงที่เขาเดินทางไปทั่วโลก เขาจะเขียนโน้ตให้ผมเวลาที่มีไอเดียว่าซาวด์แบบไหนเหมาะกับตัวละครไหน หรือดนตรีควรต่างออกไปในฉากที่เขาถ่ายทำในวันนั้น”
ในการอธิบายขั้นตอนการทำงานของเขา โยรันส์สันได้เล่าว่า “มีหลายเสียงที่หลอนอยู่ในเพลงประกอบ ผมใช้เวลาเยอะมากเพื่อรวบรวมเสียงที่คล้ายกัน จากนั้นมีการแต่งใหม่และใช้เทคนิคดิจิตอลทำให้เสียงเหล่านั้นสะท้อนถึงความซับซ้อนในโลกของ ‘Tenet’ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของผมในการแต่งเพลงครั้งนี้ คือผมจะเตรียมแนวดนตรีสำหรับผู้ชมเวลาที่พวกเขาเห็นบางสิ่งที่อยู่ในความคิดหรือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอย่างไร??”
เอ็มม่า โธมัสเล่าว่า “ดนตรีคือส่วนสำคัญของหนังทุกรื่อง โดยเฉพาะในหนังของคริสที่เสียงดนตรีแทบจะกลายเป็นอีกตัวละครหนึ่งในเรื่อง ลุดวิกได้ถ่ายทอดความสดใสและพลังที่ต่างออกไปสู่บทเพลง เขาเก่งจนน่าทึ่งและเรารักการทำงานร่วมกับเขามากเลยค่ะ”
หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการถ่ายทำฉากผาดโผนที่มีความยากลำบากตลอดช่วงการถ่ายทำ โนแลนไม่เคยนึกภาพมาก่อนเลยว่าเขาต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยไปจนถึงเรื่องการแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ในช่วงท้าย แต่หลายเหตุการณ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจากการแต่งเพลงทั่วไป โยรันส์สันอธิบายว่า “การแต่งเพลงช่วงที่มีการกักตัวกลายเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่มาก เราโชคดีมากที่สามารถใช้การบันทึกเสียงจากวงดนตรีในลอสแองเจลิสช่วงแรกได้ แต่แผนที่เราวางไว้ว่าจะบันทึกเสียงวงออเคสตร้าอีก 2 อาทิตย์มีอันต้องพิจารณาใหม่ เมื่อทุกอย่างเปลี่ยนแปลง คริสกับผมเลยตัดสินใจเรื่องดนตรีออเคสตร้าจากการบันทึกเสียงของนักดนตรีจากที่บ้านพวกเขาแยกกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ฟังแล้วดูง่ายขึ้นมาก” นักประพันธ์ดนตรีได้เล่าว่าเมื่อทุกอย่างผสมผสานเข้ากันแล้ว “เราทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้นกับผลลัพธ์ที่ได้มาก”
โธมัสยืนยันว่า “ฉันไม่คิดว่าคุณจะนึกภาพการแต่งเพลงที่มีวิธีบันทึกเสียงต่างจากเดิมได้ มันฟังแล้วเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากค่ะ”
เมื่อภาพยนตร์เรื่อง “Tenet” ถ่ายทำเสร็จสิ้น โธมัสได้เล่าความเห็นว่า “สิ่งที่ฉันอยากให้ผู้ชมได้พบคือการหลีกหนีและลอยไปกับเรื่องราวนี้ ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้เราทุกคนไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับโลกใบอื่นเลย ฉันตื่นเต้นที่ทุกคนจะได้มีความสุขกับมันอีกครั้ง หนังเรื่องนี้สร้างความสุขออกมาได้อย่างดีเยี่ยม คุณจะได้นั่งบนเบาะตัวเอง หยิบผ้าพันคอขึ้นมา และไม่ปล่อยให้คุณไปไหนจนกว่าเครดิตจอนจบจะโผล่ขึ้นมา”
โนแลนกล่าวสรุปว่า “สำหรับเรื่อง ‘Tenet’ สิ่งที่ผมคาดหวังคือการทำให้ผู้ชมมีเหตุผลที่จะกลับไปดูหนังแอ็คชั่น โดยเฉพาะหนังแนวสายลับ ผมอยากให้พวกเขาได้ดูหนังแนวนี้ในรูปแบบที่ต่างออกไป พวกเขาจะได้สัมผัสกับความตื่นเต้นแบบที่ผมเคยมีตอนเด็กเวลาที่ดูหนังแนวนี้ เราพยายามทำผู้ชมได้พบกับประสบการณ์ใหม่ ได้พบกับความรู้สึกที่ไม่เคยเจอมาก่อนในฉากต่างๆ ของหนังแอ็คชั่น เราอยากทำผู้ชมตื่นเต้นในแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน”
# # #